วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

มันเทศเทวดาเลี้ยง...แก้จนคนควนพัง...

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ตรวจเยี่ยมโครงการพืชฤดูแล้ง ที่นครศรีธรรมราช

              นายสุรพล จารุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร  ลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗  การมาตรวจราชการในครั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และมอบนโยบายที่สำคัญๆ ของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยเฉพาะการนำนโยบาย MRCF มาใช้ในระดับพื้นที่ ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องการใช้ข้อมูลแผนที่ การใช้ระบบสื่อสารทางไกล และสังคมออนไลน์ การทำงานแบบชุมชนมีส่วนร่วม และการกำหนดเป้าหมายในการทำงานแบบเฉพาะเจาะจงโดยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้จัดการงานเกษตรในพื้นที่ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมอย่างน้อย ๓ ปัจจัยหลัก คือ ความเหมาะสมของพื้นที่  คน(เกษตรกร)  และสินค้าเกษตร
   นายสุรพล จารุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

                    


นายสมนึก เหมมณี เกษตรจังหวัด
กล่าวรายงาน

  




จากการรายงานความก้าวหน้า ในการนำนโยบาย MRCF มาใช้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  ในหลายอำเภอมีความก้าวหน้า และเกษตรกรได้             รับประโยชน์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลควนพัง  อำเภอ                         ร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งพื้นที่แถบนี้เดิมเป็นพื้นที่ ป่าพรุ                    ปัจจุบันเป็นพื้นที่ว่างเปล่า  อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.) มีพื้นที่
            ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ไร่ มีน้ำท่วมซ้ำซาก และท่วมขังในช่วงฤดูฝน ช่วงเดือน
นายนิพนธ์ สุขสอาด
หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสรตร์และสารสนเทศ
สรุปความก้าวหน้า
            ตุลาคม-มกราคม ในช่วงแล้งมีสภาพน้ำเปรี้ยว ไม่สามารถปลูกพืชยืนต้นได้                 เกษตรกรไม่มีรายได้ที่แน่นอน และไม่มีอาชีพที่มั่นคง  แต่มีข้อดีเรื่องดินที่
           ยังมีความอุดมสมบูรณ์ มีอินทรีย์วัตถุมาก โรค/แมลงศัตรูพืชมีน้อย เนื่องจาก              น้ำท่วมขังนานเป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลงศัตรูพืช

ถ่ายภาพร่วมกับนักส่งเสริมมืออาชีพ
จากสภาพปัญหาดังกล่าว สำนักงานเกษตรอำเภอร่อนพิบูลย์ ร่วมกับผู้นำชุมชน หน่วยงานต่าง ๆ และเกษตรกร
ในพื้นที่ ได้ร่วมกันวิเคราะห์พื้นที่ เพื่อหาทางคลี่คลายปัญหา และจัดทำแนวทางพัฒนาอาชีพให้เกษตรกรมีงานทำ และมีรายได้ที่มั่นคง เป็นการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส และการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน  ซึ่งพบว่า พื้นที่นี้เป็นที่ว่างแปลงใหญ่ที่สุดของจังหวัด มีความเหมาะสมทั้งเรื่องดิน แหล่งน้ำสำรอง แรงงาน  ความต้องการของเกษตรกร ประสบการณ์ของเกษตรกร และความต้องการของตลาดสินค้าเกษตร จึงได้ข้อสรุปร่วมกันว่า จะทำโครงการส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง ตำบลควนพัง โดยใช้พื้นที่ในช่วงที่ปลอดภัยจากน้ำท่วม คือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน กำหนดพืชที่จะปลูกตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ตามความต้องการของตลาด และตามที่เกษตรกรมีความถนัด ส่วนทางราชการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืช ฤดูแล้ง การจัดตั้งกลุ่ม การจัดหาตลาด สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง และการประชาสัมพันธ์ ฯลฯ พืชที่เกษตรกรต้องการ และสำนักงานเกษตรอำเภอร่อนพิบูลย์ส่งเสริมให้ปลูก ได้แก่ แตงโม ฟักทอง พริกขี้หนู มันเทศ ถั่วลิสง และถัวฝักยาว พื้นที่ปลูกประมาณ ๒,๖๐๐ ไร่ สมาชิกผู้ร่วมโครงการ ๒๖๒ ราย
               ผลผลิตที่ได้จากโครงการส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง ตำบลควนพัง เกษตรกรสามารถผลิตพืชได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพไม่ต้องพึ่งสารเคมี และมีพ่อค้ามารับซื้อถึงแปลง ในปีนี้สามารถทำรายได้เข้าตำบลเกินกว่า ๓๒ ล้านบาทต่อรุ่น
หรือประมาณ ๑๐๐ ล้านบาทต่อปี เป็นการนำเอานโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร มาสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม         และสนองตอบความต้องการของชุมชนที่เห็นผลชัดเจน 

เกษตรกร และ ผู้นำชุมชนร่วมต้อนรับ


แปลงปลูกมัน


นายเจือ ศิริพร เกษตรอำเภอร่อนพิบูลย์ นำลงพื้นที่


ผลผลิตมันเทศ

    รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่ามันเทศของพี่น้องเกษตรกรควนพัง
"ปลูกแบบไม่ใส่ปุ๋ย ไม่ใช้ยาปราบศรัตรูพืช ปลูกแบบเทวดาเลี้ยง "มันเทศเทวดาเลี้ยง...แก้จนคนควนพัง...






นายอำเภอร่อนพิบูลย์ กล่าวต้อนรับ
ร่วมถ่ายภาพกับเกษตรกร





              รับทราบสภาพปัญหา





ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน




<< สำนักงานเกษตรจังหวัด

นัฐวัตร  นวลรอด  เผยแพร้








ไม่มีความคิดเห็น: