วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การแปลงค่าพิกัดให้เหมาะกับงาน

 
*ความรู้เกียวกับ เทคนิคการแปลงหน่วยค่าพิกัดแบบ DMS, DD และ DM จากเครื่องฯ GPS

ระบบดาวเทียม GPS (Global Positioning System : GPS) ของประเทศสหรัฐอเมริกาแม้จะถูกออกแบบให้ใช้ประโยชน์ทางด้านการทหารเป็นหลัก แต่ก็ยอมให้พลเรือนใช้ได้บางส่วน ดังนั้นจึงได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานอย่างกว้างขวางในการบอกตำแหน่งพิกัด ด้วยคุณสมบัติเด่นที่เป็นระบบที่ใช้ฟรี สามารถใช้หาตำแหน่งได้ในทุกสภาพอากาศตลอด 24 ชั่วโมง และใช้ได้ทั่วโลก มีความถูกต้องแม่นยำสูง โดยเฉพาะการยกเลิกการใช้ SA (Selective Availability) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ทำให้ความถูกต้องของการหาตำแหน่งบนโลกมีความถูกต้องมากขึ้นอยู่ในระดับเซนติเมตร


ปัจจุบันมีการใช้งานระบบ GPS มากขึ้น เมื่อปัจจัยเรื่องราคาของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GPS (Receiver) มีราคาถูกลง และขนาดของเครื่องเล็กลงจนสามารถพกพาได้ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีร่วมกับโทรศัพท์มือถือ แล้วเมื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนที่ที่มีความละเอียดสูง (แผนที่มาตราส่วนใหญ่) ก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้หลายประเภท ทำให้สะดวกและแม่นยำยิ่งขึ้น อาทิเช่น การนำทางทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเล การติดตามบุคคล สัตว์ ยานพาหนะ งานรังวัดพื้นที่และการทำแผนที่ ฯลฯ การแสดงค่าพิกัดในเครื่อง ฯ GPS ที่ใช้อยู่โดยทั่วไปในประเทศไทยนิยมใช้แค่สองระบบเท่านั้น คือ พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic coordinate system) และพิกัดกริด UTM (Universal Transverse Mercator)

การอ่านค่าในระบบพิกัด UTM นั้นไม่ยุ่งยากมาก เพราะสามารถอ่านตัวเลขตามค่า East (ค่า X) และ ค่า North (ค่า Y) ในกริดโซน 47, 48 (Grid Zone 47, 48) และ UTM มีหน่วยเป็นเมตรอยู่แล้ว แต่การอ่านค่าระบบพิกัดภูมิศาสตร์นั้นค่อนข้างยุ่งยากเล็กน้อย เพราะเครื่องฯ GPS บางรุ่น บางยี่ห้อแสดงค่าพิกัดภูมิศาสตร์ในหน่วยแบบที่เรียกว่า องศา ลิปดา ฟิลิปดา (DMS : Degrees Minutes Seconds) หรือแสดงเป็นหน่วยในระบบพิกัดแบบค่าตัวเลขทศนิยมแบบ DD (Decimal Degrees) และ DM (Degrees Minutes) เพื่อนำไปใช้ในคอมพิวเตอร์

ค่าพิกัด UTM และกริดโซน

ค่าพิกัดภูมิศาสตร์
ดังนั้นเมื่อเราต้องการใช้งานแบบใดแบบหนึ่ง จึงต้องมีการแปลง (Convert) ค่าหน่วย DMS เป็น DD หรือ DD เป็น DMS หรือ DMS เป็น DM และ DM เป็น DD วันนี้จะบอกเทคนิควิธีการแปลงค่าหน่วยเหล่านั้น
ก่อนอื่นมารู้จักค่าพิกัดภูมิศาสตร์แบบที่เรียกว่า องศา ลิปดา ฟิลิปดา ( ° ′ ″ ) เป็นหน่วยแบบ DMS (Degrees Minute Seconds) เหมือนกับหน่วยของเวลา บอกเวลาเป็น ชั่วโมง นาที และวินาที
ค่าองศา (Degrees) 1 องศา มี 60 ลิปดา
ค่าลิปดา (Minutes) 1 ลิปดา มี 60 ฟิลิปดา

ฟิลิปดา (Seconds) 1 ฟิลิปดา มีค่าระยะทางประมาณ 30.48 ม. หรือ 100 ฟุต บริเวณศูนย์สูตร
ตัวอย่างเช่น มีบ้านในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาตั้งอยู่ที่ค่าพิกัดภูมิศาสตร์
ละติจูด 7 องศา 2 ลิปดา 25 ฟิลิปดา เหนือ, ลองกิจูด 100 องศา 27 ลิปดา 15 ฟิลิปดา ตะวันออก
Latitude : 7 ° 2 ′ 25 ″ N, Longitude : 100 ° 27 ′ 15 ″ E
ค่าละติจูด (Latitude) และ ค่าลองกิจูด (Longitude) จำเป็นจะต้องบอกทิศด้วยเพื่อให้ทราบว่าพิกัดอยู่ทางซีกไหนของโลก

โดยละติจูด มีค่า 0-90 องศา เหนือ,ใต้ (North : N, South : S)
(เป็นค่าของมุมที่วัดจากเส้นศูนย์สูตร (Equator) ไปยังขั้วโลกเหนือและใต้ข้างละ 90 องศา เหนือ-ใต้)
ส่วนลองกิจูด มีค่า 0-180 องศา ตะวันออก, ตะวันตก (East : E, West : W)
(เป็นค่าของมุมที่วัดจากเมริเดียนปฐม (Prime Meridian) ไปทางตะวันออก 180 องศา ตะวันออก และทางตะวันตก 180 องศา ตะวันตก) | เมริเดียนปฐมเริ่มต้นที่ เมืองกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ
ส่วนหน่วยแบบ DD (Decimal Degrees) หมายถึง ค่าตัวเลขทศนิยม ที่เป็นเลขฐานสิบในหน่วยแบบ DD โดยบอกเป็นค่าองศามีทศนิยม

ตัวอย่างเช่น บ้านในอำเภอหาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ค่าพิกัดภูมิศาสตร์
ละติจูด 7. 040277 องศา เหนือ, ลองกิจูด 100.45416 องศา ตะวันออก
Latitude : 7.040277 ° N, Longitude : 100.45416 ° E
สำหรับหน่วยแบบ DM (Degrees Minutes) หมายถึง ค่าตัวเลขทศนิยม เช่นเดียวกันกับ DD โดยบอกเฉพาะค่าองศา และค่าลิปดา ส่วนค่าฟิลิปดา ปัดเป็นตัวเลขทศนิยมของค่าลิปดา
ตัวอย่างเช่น บ้านในอำเภอหาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ค่าพิกัดภูมิศาสตร์
ละติจูด 7 องศา 2. 416667 ลิปดา เหนือ, ลองกิจูด 100 องศา 27.25 ลิปดา ตะวันออก
Latitude : 7 ° 2 .416667′ N, Longitude : 100 ° 27.25 ′ E
เทคนิควิธีการแปลงค่าหน่วยเหล่านั้นมี 2 วิธี ดังนี้
4

วิธีแรก ใช้บริการของเวบไซต์
เป็นวิธีง่ายที่สุด เพียงนำค่าพิกัด DD DM หรือ DMS มาแปลงในเวบไซต์ดังข้างล่างนี้ ก็จะสามารถแปลงค่าพิกัดได้ง่าย รวดเร็วทันใจ และสามารถ Link พิกัดเพื่อดูแผนที่ใน Google Maps ได้ด้วย
http://www.gpsvisualizer.com/calculators
DMS to DD, DM
DD to DM, DMS

วิธีที่สอง เป็นการแปลงด้วยวิธีคำนวณด้วยตัวเอง จะใช้เครื่องคิดเลข หรือจะใช้โปรแกรม Excel คำนวณก็ได้ มีวิธีการแปลงพิกัดเหล่านั้น ดังนี้
วิธีการแปลงหน่วยในระบบพิกัดแบบ DMS เป็นแบบ DD
เราจะนำค่า DMS มาแปลงเป็นหน่วยในระบบพิกัดแบบค่าตัวเลขทศนิยม DD เพื่อนำไปใช้ในคอมพิวเตอร์ได้โดยผ่านสมการนี้
DD = Degrees+(Minutes*60+Seconds)/3600
หรือ
DD = (Seconds/3600) + (Minutes/60)+ Degrees
5
ตัวอย่าง แปลงค่าพิกัดในหน่วย DMS ให้เป็น DD
เช่น บ้านในอำเภอหาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ ละติจูด 7 องศา 2 ลิปดา 25 ฟิลิปดา เหนือ
ลองกิจูด 100 องศา 27 ลิปดา 15 ฟิลิปดา ตะวันออก
จาก สมการ DD = Degrees+(Minutes*60+Seconds)/3600
จะได้ ละติจูด = 7+(2*60+25)/3600
= 7.040277
ลองกิจูด = 100+(27*60+15)/3600
= 100.45416
หรือจาก สมการ DD = (Seconds/3600) + (Minutes/60)+ Degrees
จะได้ ละติจูด = (25/3600)+(2/60)+7
= 7.040277
ลองกิจูด = (15/3600)+(27/60)+100
= 100.45416

ดังนั้น ค่า DD ที่ตั้งบ้านในอำเภอหาดใหญ่อยู่ที่
ละติจูด 7. 040277 องศา เหนือ, ลองกิจูด 100.45416 องศา ตะวันออก
วิธีการแปลงหน่วยในระบบพิกัดแบบ DD เป็นแบบ DMS ทำได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 ใช้โปรแกรม Calculator ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลงซอฟแวร์ปฎิบัติการ Windows 95/98/NT 4/2000/ XP/Vista โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
1. เลือก START แล้วเลือก Programs->Accessories->Calculator
2. จากโปรแกรม Calculator เลือก View menu และเลือก Scientific
3. พิมพ์ค่าพิกัดในรูปแบบ DD เช่น 100.45416
4. แล้วกดปุ่ม dms
5. จะแสดงค่าพิกัด DMS ขึ้นมา คือ 100.2714976 หมายถึง 100 องศา 27 ลิปดา 15 ฟิลิปดา
6
วิธีที่ 2 เป็นการคำนวณด้วยมือง่าย ๆ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
1 จากค่าตัวเลขพิกัดในรูปแบบ DD ตัวอย่างเช่น 100.45416 ตัวเลขก่อนหน้าจุดทศนิยม จะเป็นค่าของหน่วยองศา ในที่นี่คือ 100 องศา
2. ให้นำตัวเลขหลังทศนิยมคูณด้วย 60 เช่น .45416 x 60 = 27.2496
3. จากค่าที่คำนวณได้ 27.2496 ตัวเลขก่อนหน้าจุดทศนิยม จะเป็นค่าของหน่วยลิปดา ในที่นี่คือ 27 ลิปดา
4. ให้นำตัวเลขหลังทศนิยมจากผลคูณในข้อ 2 คูณด้วย 60 เช่น .2496 x 60 = 14.976
5. จากค่าที่คำนวณได้ 14.976 ตัวเลขก่อนหน้าจุดทศนิยม จะเป็นค่าของหน่วยฟิลิปดา ในที่นี่ปัดทศนิยมเป็น 15 ฟิลิปดา
6. เมื่อนำตัวเลขมาอ่านรวมกันจะได้ 100 องศา 27 ลิปดา 15 ฟิลิปดา เหมือนกับคำนวณด้วยเครื่องคิดเลข
วิธีการแปลงหน่วยในระบบพิกัดแบบ DMS เป็นแบบ DM
การแปลงค่า DMS ให้เป็นค่าพิกัดแบบตัวเลขทศนิยม DM ทำได้ดังนี้
Degrees = Degrees
Minutes.m = Minutes + (Seconds / 60)
ตัวอย่าง 100 องศา 27 ลิปดา 15 ฟิลิปดา
Degrees = Degrees
100 องศา = 100 องศา
Minutes.m = Minutes + (Seconds / 60)
27+(15/60)
= 27.25
ค่า DM ที่ได้ ก็คือ 100 องศา 27.25 ลิปดา ( 100 ° 27.25 ′)
7
วิธีการแปลงหน่วยในระบบพิกัดแบบ DM เป็นแบบ DD
การแปลงค่า DM ให้เป็นค่าพิกัดแบบตัวเลขทศนิยม DD ทำได้ดังนี้
.d = Minutes.m / 60
Decimal Degrees = Degrees + .d
ตัวอย่าง 100 องศา 27.25 ลิปดา
.d = Minutes.m / 60
27.25 / 60
= 0.4542
Decimal Degrees = Degrees + .d
100 + 0.4542
= 100.4542
ค่า DD ที่ได้ ก็คือ 100.4542 องศา ( 100.4542 °)
ใครถนัดแบบไหนลองเลือกใช้ดูนะครับ

เว็บอ้างอิง https://www.facebook.com/cyberdict.technology/posts/324785714203127


การแปลงค่าพิกัดโดยใช้เครื่อง GPS ช่วย

โดย..ชาญวิทย์ สมศักดิ์
<<ย้อนกลับ  www.nakhonsri.doae.go.th



วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์


โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันอังคาร ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
ณ บริเวณลานเอนกประสงค์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่
หมู่ที่ ๒ ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
DSC06825 DSC06820
นายสมาน แสงสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ประธานพิธีเปิดโครงการ นายเสรีย์ แป้นคง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวรายงาน
DSC06826 DSC06827
DSC06815 DSC06794
DSC06796 DSC06800
DSC06812 DSC06811
DSC06806 DSC06802
<< ย้อนกลับ
                                                                                                                                                   ชาญวิทย์ สมศักดิ์  ภาพ/ข่าว

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สำนักงานเกษตรอำเภอพิปูนจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตและแปรรูปข้าว

          วันที่ 18 ธ.ค. 2557 นายเกษม  ดุกสุกแก้ว รักษาการในตำแหน่งเกษตรอำเภอพิปูน ได้ประชุมชี้แจงเกษตรกรชาวนาเขตอำเภอพิปูนเพื่อแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์โครงการการส่งเสริมการผลิตและแปรรูปข้าว ณ ห้องประชุมเทศบาลอำเภอพิปูน  ต.พิปูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอำเภอพิปูนเข้าร่วมประชุมจำนวน 114 ราย

พิปูนเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีประชากรประมาณ 9,500 ครัวเรือน พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเนินเขาและมีพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ที่สามารถปลูกข้าว ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์พื้นเมืองให้ผลผลิตประมาณ 250-300 กก./ไร่ เพาะปลูกปีละครั้ง ซึ่งการผลิตยังไม่เพียงพอในพื้นที่ จำเป็นต้องซื้อข้าวจากภายนอกเพื่อการโภคในครัวเรือน ส่งผลให้ค่าครองชีพในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น

สำนักงานเกษตรอำเภอพิปูนจึงมีแนวทางในการส่งเสริมการปลูกข้าวปีละ 2 ครั้งและแปรรูปเพื่อบริโภคในครัวเรือนที่เหลือจำหน่ายเป็นรายได้ในครัวเรือน โดยใช้พันธุ์ข้าวส่งเสริม (ไม่ไวแสง) ปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีประมาณเดือน พ.ค.-ส.ค. สำหรับพื้นที่ที่เหมาะนั้นจะอยู่บริเวณด้านล่างอ่างเก็บน้ำ ในการนี้ทางสำนักงานเกษตรอำเภอพิปูน ได้ชี้แจงทำความเข้าใจ รวมกลุ่มเกษตรกรและคัดเลือกคณะกรรมการ  จัดหาพื้นที่และคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมเพื่อปลูกในพื้นที่อำเภอพิปูนต่อไป  
                                     

                                             


                สำหรับผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานในโครงการเพื่อเกิดการรวมกลุ่มการผลิตข้าวและพัฒนาตนเองของเกษตรกรมีการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์เพื่อเพิ่มผลผลิตการแปรรูปและการบริโภคข้าวที่ปลอดภัย เป็นการเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน เกษตรกรปลูกเอง กินเอง ลดรายจ่าย รายได้เพิ่มและปลอดภัย ตามแนวทางหลักเศรษฐกิจพอเพียง

จิฬาภรณ์  สุขกล่ำ : ภาพ
อรทัย  บุญเคน  : ข่าว



เกษตรกรชาวนาผู้ปลูกข้าวนาปีอำเภอพิปูนรับเงินช่วยเหลือตามโครงการเพิ่มรายได้แก่ผู้มีรายได้น้อย

                      เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 18 ธ.ค. 2557 นายคำรบ เครือณรงค์ นายอำเภอพิปูนเป็นประธาน พร้อมด้วย นายศิริพงศ์  สิงหพันธ์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาพิปูน นายธีระพงศ์  บรรณราช พัฒนาการอำเภอพิปูนและนายเกษม ดุกสุกแก้ว รักษาการในตำแหน่งเกษตรอำเภอพิปูน ในการมอบเงินช่วยเหลือชาวนาเพื่อลดต้นทุนการผลิต ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลพิปูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช  โดยมีชาวนาได้สิทธิในการรับเงินช่วยเหลือจำนวน 114 ราย เป็นเงิน จำนวน 530,500 บาท








       จากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2557/2558 เพิ่มเติมจากมาตรการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้ความเห็นชอบในโครงการตามมาตรการเพิ่มรายได้แก่ผู้มีรายได้น้อยที่ได้จดทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และเปิดบัญชีไว้กับธ.ก.ส.  ซึ่งมีที่ดินไม่เกิน 15 ไร่ ส่วนชาวนาที่มีที่นามากกว่า 15 ไร่ ให้ช่วยเหลือครอบครัวละ 15,000 บาท การดำเนินงานในโครงการมาตรการดังกล่าวในเขตพื้นที่อำเภอพิปูนได้ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบในส่วนของเอกสาร ส่วนของพื้นที่ การประชาคมระดับหมู่บ้าน และคณะกรรมการทุกระดับแล้ว ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทางเกษตรกร ทั้งคณะกรรมการฯที่เกี่ยวข้องทุกระดับ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในการตรวจสอบข้อมูลพื้นที่ เพื่อยืนยันการมีสิทธิ์ของเกษตรกรและได้รับความช่วยเหลือในครั้งนี้


   ชาวนาส่วนใหญ่ที่เดินทางมารับเงินในวันนี้ต่างดีใจ และยิ้มแย้มกันทั่วหน้า พร้อมขอบคุณรัฐบาลที่ทำโครงการนี้ขึ้นมา พร้อมขอให้รัฐบาลทำโครงการให้เงินช่วยเหลือชาวนาต่อไปเพราะอย่างน้อยชาวนาก็จะได้ลดภาระค่าใช้จ่ายมาได้บ้าง


สุพัตรา  รัตนะ : ภาพ
อรทัย  บุญเคน : ข่าว

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

นโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปี ๒๕๕๘

 

กรมส่งเสริมการเกษตร โดย..ท่านอธิบดี โอฬาร พิทักษ์ ได้มีนโยบายปี ๒๕๕๘ ให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามระบบ MRCF ต่อเนื่องจากปี ๒๕๕๗ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเชิงคุณภาพ ดำเนินการให้เชื่อมโยงกับนโยบาย Zoning ของรัฐบาลและของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และให้มี ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร” เป็นกรณีตัวอย่างแต่ละพื้นที่

ในปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมานั้น กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายในการปรับระบบการทำงานเพื่อให้เห็นบทบาท ตัวตน และอัตลักษณ์ของนักส่งเสริมการเกษตร ที่ชัดเจนในฐานะของผู้จัดการพื้นที่และผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภายใต้แนวคิด  “การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีที่สุด” หรือ Chang to the Best และได้เริ่มใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ คือ ระบบ MRCF

ปี ๒๕๕๘ นั้น กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดนโยบาย  ๓ ประเด็น คือ…
          ๑. เร่งรัดการดำเนินงานสำคัญตามนโยบาย
          ๒. ขับเคลื่อนระบบ MRCF ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
          ๓. พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการองค์กร

ประเด็นที่ ๑ นั้น เร่งรัดการดำเนินงานสำคัญตามนโยบาย
                ๑.๑ จะเร่งรัดงานสำคัญตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐบาล และกระทรวงเกษตร เช่น การช่วยเหลือดูแลเกษตรกร การเพิ่มผลผลิตและพัฒนาคุณภาพการผลิต การจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนด้านการเกษตร การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร การจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร” การส่งเสริมตลาดเกษตรกร (Farmer Market) การพัฒนาศูนย์ข้อมูลเกษตรกรแห่งชาติ ฯลฯ
                ๑.๒ ขยายผลโครงการพระราชดำริ เกษตรกรรมยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง
                ๑.๓ บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ
                ๑.๔ ทำงานโดยยึดหลัก “ทำก่อน ทำจริง ทำทันที เกิดผลสัมฤทธิ์ และยั่งยืน” ตามนโยบายรัฐบาล

ประเด็นที่ ๒ ขับเคลื่อนระบบ MRCF ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
                ๒.๑ พัฒนาระบบบริหารจัดการงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ โดยยึดพื้นที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มองภาพ “พื้นที่ – คน – สินค้า” เข้าด้วยกัน และใช้ ระบบ MRCF เพื่อชี้เป้า ให้หน่วยงานอื่น ๆ เข้าไปดำเนินงานในพื้นที่ได้
                ๒.๒ เพื่อบรรลุงานส่งเสริมงานส่งเสริมการเกษตร จึงมุ่งเน้นการดำเนินงาน ๕ Smarts คือ
๑) Smart Officer ๒) Smart Office ๓) Smart Farmer ๔) Smart Group ๕) Smart Product
                ๒.๓ พัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยให้สอดคล้อง Zoning
                ๒.๔ พัฒนางานพื้นฐานสำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตรให้เกิดผลสำเร็จ เช่น อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) กลุ่มยุวเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน การบริหารจัดการผลไม้ การใช้ปุ๋ยอินทรียฺและปุ๋ยสั่งตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิต และการบริหารจัดการศัตรูพืช

ประเด็นที่ ๓ พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการองค์กร
                ๓.๑ เพิ่มบทบาทของเขตและศูนย์ปฏิบัติการให้สามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                ๓.๒ พัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีสมรรถนะสูงขึ้นและมีขวัญกำลังใจ
                ๓.๓ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการและงบประมาณ
                ๓.๔ ประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกเพื่อเสริสสร้างความเข้าใจ เผยแพร่ผลงานและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสาธารณชน

                                                                         

                                                                                                   ชาญวิทย์ สมศักดิ์
                                                                                   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
                                                                                          กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ

 

<< กลับหน้าหลัก

 

Smart office ที่เขต ๘ สุราษฎร์ธานี


ได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการดำเนินงานสำนักงานเกษตรอำเภอ Smart office ในเขตภาคใต้ตอนบน ปี ๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๑-๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ ห้องริมน้ำ โรงแรมวังใต้ สุราษฎร์ธานี

กรมส่งเสริมการเกษตรมีการจัดบริการให้เกษตรกรในระดับพื้นที่ โดยพัฒนาช่องทางการเข้าถึงบริการทางด้านการเกษตรอย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว สร้างโอกาสการบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานและภาคีส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับการบริการของสำนักงานเกษตรอำเภอแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)
ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ได้ให้อำเภอที่ดำเนินการ Smart Office แล้วเมื่อปี ๒๕๕๗ นำเสนอผลการดำเนินงาน จำนวน ๙ อำเภอ สำหรับอำเภอใหม่ ๆ ที่จะดำเนินการในปี ๒๕๕๘ ได้มีโอกาสได้เรียนรู้แนวทางดำเนินการระดับหนึ่ง และมีการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานในปี ๒๕๕๘

ทุกคนที่เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ต่างก็หอบหิ้วโน๊ตบุ๊ค ดูแล้วแน่นอนว่าของส่วนตัวทั้งสิ้นรวมทั้งของผู้เขียนด้วย ได้เรียนรู้การติดตั้งโปรแกรม การใช่้โปรแกรม ที่ใช้บัตรประจำตัวประชาชน รูปแบบ Smart Card ในการเข้าถึงข้อมูลระบบ Online เป็นการยกระดับการให้บริการที่จะทำให้เกษตรกรได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้นอย่างมากที่เดียว

จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดใหญ่ ปี ๒๕๕๗ ดำเนินการอำเภอนำร่อง Smart office จำนวน ๒ อำเภอ คือ อำเภอร่อนพิบูลย์ กับอำเภอปากพนัง และจะได้เป็นแบบการเรียนรู้การดำเนินการปี ๒๕๕๘ สำหรับ ๒๑ อำเภอที่จะดำเนินการและปรับปรุงยกระดับกันต่อไป
1950631700793 1950631948745
1950632121561 1950632308454
1955089870849 1950632474649
111314 111315
53975 1955165587575

ปี ๒๕๕๐ ผูัเขียนรับผิดชอบงานการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ได้ทำงานร่วมกับส่วนราชการ ๓๔ ส่วนราชการภายใต้การกำกับดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัด ได้สัมผัสกับบริการ One Stop Service ของระดับจังหวัดที่มีหลายส่วนราชการภายใต้การกำกับดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัด บูรณาการให้บริการในจุดเดียวกันแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งประชาชนจะได้รับความสะดวกและรวดเร็วมากในการบริการรูปแบบดังกล่าว

กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการ สำนักงานเกษตรอำเภอ Smart office ซึ่งเมื่อทุกอย่างพร้อมเข้ารูปแบบแล้วก็นับได้ว่าเป็นความโชคดีของเกษตรกรที่จะมาใช้บริการในอนาคตที่จะได้รับความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

                                                                                                                                    ชาญวิทย์ สมศักดิ์
                                                                                                                      นักวิชาการส่งเสรมการเกษตรชำนาญการ
                                                                                                                          กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ




<< ย้อนกลับหน้าหลัก

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ๒๕๕๘

 

ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร  คืออะไรกัน ?
                
                     คือแหล่งศึกษาเรียนรู้ของเกษตรกรและประชาชนที่สนใจ เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร  ซึ่งศูนย์จัดตั้งขึ้นเป็นศูนย์กลางของชุมชน โดยใช้หลักการของโซนนิ่งร่วมกับความต้องการของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกร ได้ทำการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เป็นสินค้าของตนเอง ให้เหมาะสมกับเขตพื้นที่นั้น ๆ คือเขตนั้นเหมาะสมที่จะผลิตสินค้านั้นหรือไม่ ด้วยว่าปัญหาการผลิตสินค้าเกษตรนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

สาเหตุที่พบก็คือ เกษตรกรส่วนหนึ่งใช้พื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อย หรือไม่เหมาะสมเลย มาใช้ปลูกพืชที่ตนเองชอบ อาจจะปฏิบัติตาม ๆ กันมาตามกระแสนิยม  ผลผลิตจึงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ต้นทุนสูง  ทำให้ในฤดูกาลหนึ่ง ๆ ผลผลิตออกมามากเกินความต้องการ ผลตามมาคือราคาต่ำ ในขณะที่ในช่วงการผลิตลงทุนสูงไปแล้ว ซึ่งแน่นอนรัฐก็ต้องยื่นมือมาช่วยเหลือ จะด้วยวิธืการแทรกแซงราคาหรืออะไรก็แล้วแต่


ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

                 จึงเป็นเครื่องมือในการช่วยเกษตรกรในชั้นต้น เพื่อให้รู้แนวทางการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ การพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต นี่พูดถึงกรณีที่พืชนั้นปลูกอยู่ในเขตพื้นที่      ที่เหมาะสมแล้ว  แต่ในกรณีที่ปลูกในเขตที่ไม่เหมาะสมนั้น เกษตรกรต้องยอมรับความเป็นจริงว่าทำไป
ก็รังแต่จะขาดทุน เสียแรงเปล่าก็ต้องปรับเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นดีกว่า ในการปรับเปลี่ยนก็ต้องวิเคราะห์ความต้องการของตลาด คือผลิตออกมาแล้วต้องขายได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงบริหารจัดการพื้นที่โดยมีแนวคิดของการใช้ประโยชน์ในที่ดินของประเทศให้ได้ประโยชน์สูงสุด ที่เรียกว่า Zoning ก็ค่อยว่ากันในโอกาสต่อไป

เรื่องของศูนย์การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรนั้น เป็นเรื่องของเกษตรกรช่วยเกษตรกรด้วยกัน โดยมีนักส่งเสริมการเกษตรที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ ทำหน้าที่ประสานเป็นผู้จัดการพื้นที่ โดยก่อนมาเป็นศูนย์ฯนั้น นักส่งเสริมการเกษตรจะร่วมกับชุมชนนั้น ๆ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ค้นหาศักยภาพพื้นที่ว่า พื้นที่นี้เหมาะกับสินค้าหรือพืชอะไร  โดยใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ที่เรียกว่า MRCF เป็น

เครื่องมือในการวิเคราะห์ โดยมีการจัดการข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์พื้นที่ที่เรียกว่า Mapping ( M ) จัดทำข้อมูลให้ปรากฎชัดเจนอยู่บนแผนที่ โดยมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคี หรือหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆที่อยู่ในพื้นที่ร่วมกันดำเนินการ ที่เรียกว่า Community Participation ( C ) เครื่องมือนี้ที่มีดำเนินการอยู่เดิมที่เป็นของชุมชน ก็คือ “ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล” นั่นเอง การประสานงานของ ชุมชน ภาคี องค์กร ผู้มีส่วนร่วม ก็จะใช้เทคโนโลยีที่ประสานงานด้วยระยะสื่อระยะไกล เช่น โทรศัพท์ แฟกซ์ ไลน์ เฟสบุ๊ค เว็บไซต์ ฯลฯ โดยเรียกว่า Remote Sensing ( R )

เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ก็จะได้จุดพื้นที่ในการส่งเสริมการผลิตสินค้าที่เหมาะสมกับพืชนั้น ๆ แล้ว นั่นคือการได้มาซึ่ง Specific Field Service ( F ) คือพื้นที่เป้าหมายที่จะเข้าไปทำงานแบบเจาะจง และศูนย์ฯก็จะเกิดขึ้นที่นี่ ซึ่งมีแปลงที่ประสบความสำเร็จ มีเกษตรกรเจ้าของแปลง มีฐานการเรียนรู้ที่เกษตรกรรายอื่น ๆ มาเรียนรู้ศึกษาเป็นตัวอย่างได้ ได้เห็นของจริง เพื่อนำไปปรับใช้ในการผลิตสินค้านั้นในแปลงของตนเองให้มีประสิทธิภาพต่อไป

 

                                                                                                              ชาญวิทย์ สมศักดิ์ : เขียน

 

<< กลับหน้าหลัก

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การติดตามงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรประจำเดือนพฤศจิกายน 2557 อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช

การติดตามงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรประจำเดือนพฤศจิกายน 2557 อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 10.00 น.-12.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอพิปูน คณะติดตามนิเทศงานของจังหวัดนครศรีธรรมราช คณะที่2 นำโดยนายสุพร สมวงค์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ หัวหน้าคณะทีมนิเทศงานได้ลงพื้นที่อำเภอพิปูน พร้อมด้วยคณะจำนวน 3 ท่าน คือ นายชัยวัต  อินทรณรงค์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ นางเรวดี  แม้นสุรางค์ เจ้าพนักงานชำนาญการ และนางสุภาวดี  คงชู นักวิชาการการเกษตร 

การติดตามนิเทศงานครั้งนี้ เพื่อให้เกิดการประสานงานในระหว่างหน่วยงานที่เป็นส่วนประกอบขององค์กรและเพื่อตรวจสอบ ควบคุม กำกับโครงการต่างๆ เพื่อให้ดำเนินตามวัตถุประสงค์ของโครงการตลอดจนเพิ่มพูนประสิทธิภาพในงานในองค์กรตามที่ได้รับมอบหมายตามแนวทางการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2558


การนี้ทางคณะติดตามนิเทศได้รับการต้อนรับจากทางอำเภอ นำโดยนายเกษม ดุกสุกแก้ว รักษาการในตำแหน่งเกษตรอำเภอพิปูน พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ทุกคนเป็นอย่างดี 

จิราภรณ์  สุขกล่ำ  : ภาพ
อรทัย  บุญเคน    : ข่าว


วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ฯ อำเภอช้างกลาง

สำนักงานเกษตรอำเภอช้างกลาง  จัดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เรื่อง "การทำเชื้อไตรโคเดอร์มา (Trichoderma sp.) และการขยายเชื้อบีที (ฺBacillus  thuringiensis)

เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม  ๒๕๕๗ สำนักงานเกษตรอำเภอช้างกลาง  จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เรื่อง "การทำเชื้อไตรโคเดอร์มา (Trichoderma sp.) และการขยายเชื้อบีที (ฺBacillus  thuringiensis) ณ.ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ๑๐๗/๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลสวนขัน  อำเภอช้างกลาง ของนายเฉลิม  ศรีแฉล้ม  โดยมี นายศิริพล  พิพัฒน์รัตนเสรี  นายอำเภอช้างกลาง เป็นประธานในการถ่ายทอดฯ มีเกษตรกร  เข้าร่วม จำนวน  ๖๐  คน


นายศิริพล  พิพัฒน์รัตนเสรี  นายอำเภอช้างกลาง เป็นประธานในการถ่ายทอดฯ


นายสมคิด  วรรณกูล  เกษตรอำเภอช้างกลาง  พบปะเกษตรกรผู้เข้าร่วมรับการถ่ายทอดฯ


การทำเชื้อไตรโคเดอร์มา (Trichoderma sp.)








การขยายเชื้อบีที (ฺBacillus  thuringiensis)












                                                       ประภาพร  วิกล / ภาพ
                                                    จันทนา  จันทร์แก้ว /ข่าว



วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เกษตรทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีฯ จัดตั้งกลุ่มแม่บ้าน

นายปิยสิษฐ์ บุญช่วย เกษตรอำเภอทุ่งใหญ่ จัดตั้งกลุ่มแม่บ้าน หมู่ 7 ตำบลกุแหระ 
อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

              วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม 2557 นายปิยสิษฐ์ บุญช่วย  เกษตรอำเภอทุ่งใหญ่และทีมงาน จัดตั้งกลุ่มแม่บ้านที่ หมู่ 7 ตำบลกุแหระ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยได้รับความร่วมมือจาก นายสุจิต ชำนาญกิจ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุแหระและคณะ อีกทั้งยังได้ชี้แจ้ง วัตถุประสงค์เป้าหมายและประโยชน์ของการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านให้เกษตรกรกลุ่มแม่บ้านทราบว่าการจัดตั้งกลุ่มถือเป็นกลไกขั้นแรกของการพัฒนา



                                                                                                                                วาสนา โกละกะ :ภาพ/ข่าว

ย้อนกลับ
ย้อนกลับ

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เกษตรอำเภอทุ่งใหญ่ ประชุม อกม. (อาสาสมัครเกษตร) ระดับอำเภอ

วันจันทร์ ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ สำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งใหญ่นายปิยสิษฐ์ บุญช่วย เกษตรอำเภอทุ่งใหญ่ ชี้แจงงาน
ส่งเสริมการเกษตร ปี ๒๕๕๗/๒๕๕๘ ให้กับอาสาสมัครเกษตรอำเภอทุ่งใหญ่
 โดยแจ้งให้ อกม. ทราบถึงบทบาท หน้าที่ และแนวทางการส่งเสริม แบบ MRCF นอกจากนี้ ยังประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมต่าง ๆ เช่น โครงการเฉลิมพระเกียรติปลูกไม้ผลยืนต้นครัวเรือนละ ๑ ต้น เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงมีพระชนมายุครบ วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ ๖๐ พรรษา โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ โครงการช่วยเหลือเกษตรกรผูปลูกข้าวและยางพารา เป็นต้น














<<< ย้อนกลับ                                                                                           นางวาสนา โกละกะ : ภาพ/ข่าว
                                                             
                                                                                                                   

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตรปี 57/58 และเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์เครื่องแกง

               สำนักงานเษตรอำเภอทุ่งใหญ่ ร่วมประชุมหมู่บ้านคงคาเลียบ หมู่ที่ 5 ตำบลกุแหระ 
อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
               เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2557 เวลา 13.00 น. นายปิยสิษฐ์ บุญช่วย เกษตรอำเภอทุ่งใหญ่ และคณะ ได้เดินทางไปที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลกุแหระ อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน และทำการประชาสัมพันธ์ โครงการต่าง ๆ ของกรมส่งเสริมการเกษตร ในปีงบประมาณ 2558 และแนะนำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์เครื่องแกง หมู่ที่ 5 ตำบลกุแหระ ถึงแนวทางในการดำเนินงานกลุ่ม







วาสนา  โกละกะ : ภาพ
อรชา หมวดเมือง : ข่าว