วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

ปูพรมศูนย์เรียนรู้เพิ่มผลผลิตเกษตรกร

 

“ภาคการเกษตร” เป็นแหล่งรายได้ของประเทศและแหล่งอาหารเลี้ยงปากท้องคนไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่ในภาวะปัจจุบันเกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ อาทิ ต้นทุนการผลิตสูง

วันพฤหัสบดี 11 กันยายน 2557 เวลา 00:00 น.

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

“ภาคการเกษตร” เป็นแหล่งรายได้ของประเทศและแหล่งอาหารเลี้ยงปากท้องคนไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่ในภาวะปัจจุบันเกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ อาทิ ต้นทุนการผลิตสูง พื้นที่เพาะปลูกขาดความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตที่ได้รับมีปริมาณน้อย คุณภาพต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่ จึงประสบกับภาวะขาดทุน เกิดปัญหาหนี้สินรุมเร้าจนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ 

นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งหาหนทางให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกร โดยเฉพาะเรื่องการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มปริมาณและพัฒนาคุณภาพของผล ผลิตการเกษตร จึงให้มีการดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มผลผลิตการเกษตร” หรือ “แปลงสาธิต” เพื่อเป็นจุดดูงานด้านการลดต้นทุน เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ

“จุดประสงค์หลักของการดำเนินการโครงการนี้ คือ เพื่อให้มีศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิต และเทคโนโลยีการเกษตรให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศ ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ”

นายโอฬาร กล่าวต่อว่า กรมส่งเสริมการเกษตร วางเป้าหมายไว้ว่า จะต้องเกิดศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรทุกอำเภอ อำเภอละ 1 ศูนย์ทั่วประเทศ รวม 882 แห่ง เป็นต้นแบบและมีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเกษตรกรจำนวน 176,400 คน หรือ 200 คนต่อศูนย์ เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม และมีระบบการผลิตที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 

สำหรับองค์ประกอบของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร แต่ละแห่งประกอบด้วย 1.แปลงเรียนรู้ เป็นแปลงของเกษตรกรต้นแบบที่ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละพื้นที่ 2.เกษตรกรเจ้าของแปลงเรียนรู้ จะต้องมีความรู้ ทักษะ และความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ 3.ฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร คือ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต และพัฒนาคุณภาพผลผลิต และ 4.หลักสูตรการเรียนรู้ โดยสำนักงานเกษตรอำเภอ และเกษตรกรต้นแบบ ร่วมกันกำหนดหลักสูตรการเรียนรู้ โดยใช้กลไก “สำนักงานเกษตรจังหวัด” และ “สำนักงานเกษตรอำเภอ” ทั่วประเทศ ดำเนินการคัดเลือกแปลงเรียนรู้และเกษตรกรต้นแบบนำร่อง อำเภอละ 1 จุด เพื่อนำมาดำเนินการเป็นศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ รวมทั้งหมด 882 จุด 

โดยสำนักงานเกษตรอำเภอ จะเข้าไปปรับปรุงและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบ เพื่อให้มีความพร้อมในการถ่ายทอดความรู้ เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรที่ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งจัดการศึกษาดูงานให้กับเกษตรกรต้นแบบซึ่งเป็นเจ้าของศูนย์  จากนั้นสำนักงานเกษตรอำเภอจะร่วมกับเกษตรกรต้นแบบ กำหนดและจัดทำแผนหรือหลักสูตรการเรียนรู้ของเกษตรกรที่จะเข้ามาเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้อย่างน้อยแห่งละ 200 คน ภายในเดือนกันยายน 2557 

เชื่อว่าการดำเนินการครั้งนี้จะช่วยให้เกษตรกรที่เข้ามาเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินการผลิตสินค้าเกษตรของตนเองได้ ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตมีปริมาณและคุณภาพมากยิ่งขึ้น  ที่สำคัญจะช่วยให้เกษตรกรเกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/Content/agriculture/265802/%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3

<< ย้อนกลับ

กระทรวงเกษตรฯ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอละ 1 จุด รวม 882 ศูนย์

 

กระทรวงเกษตรฯ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอละ 1 จุด รวม 882 ศูนย์ หวังให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตร ที่มีต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตมีปริมาณและคุณภาพมากยิ่งขึ้น เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสามารถพึ่งพาตนเองได้

        นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันเกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ อาทิ ต้นทุนการผลิตสูง พื้นที่เพาะปลูกขาดความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตที่ได้รับมีปริมาณน้อย คุณภาพต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่ จึงประสบกับภาวะขาดทุน มีปัญหาหนี้สินและไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งหาหนทางให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกร โดยเฉพาะเรื่องการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มปริมาณและพัฒนาคุณภาพของผลผลิตการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อเป็นจุดดูงานด้านการลดต้นทุน เพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต รวมทั้งการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ

        นายปีติพงศ์ กล่าวต่อไปว่า จุดประสงค์หลักของการดำเนินการโครงการนี้ คือ เพื่อให้มีศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต โดยมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิต และเทคโนโลยีการเกษตรให้แก่เกษตรกรทั่วประเทศ ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยวางเป้าหมายไว้ว่า จะต้องเกิดศูนย์เรียนรู้ฯ ทุกอำเภอ อำเภอละ 1 ศูนย์ทั่วประเทศ รวม 882 แห่ง เป็นต้นแบบและมีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเกษตรกรจำนวน 176,400 คน หรือ 200 คนต่อศูนย์ เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม และมีระบบการผลิตที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

        สำหรับพื้นที่ที่จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ได้คัดเลือกจากพื้นที่นำร่องที่มีการส่งเสริมการเกษตรตามรูปแบบ MRCF คือ เป็นพื้นที่ที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ คน สินค้า และข้อมูลศักยภาพการผลิต (Zoning) และกำหนดประเด็นส่งเสริมเน้นหนักหรือประเด็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในพื้นที่ จากนั้นจึงคัดเลือกศูนย์เรียนรู้ฯ ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในพื้นที่ดังกล่าว ส่วนองค์ประกอบของศูนย์เรียนรู้ฯ จะประกอบด้วย 1) เกษตรกรต้นแบบ 2) แปลงเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบ 3) หลักสูตรการเรียนรู้ และ 4) ฐานการเรียนรู้

        อนึ่ง ผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ฯ ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2557 ได้แก่ 1) สำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอ ได้ดำเนินการทบทวนจุดที่ดำเนินการศูนย์เรียนรู้ฯ ในปี 2557 ให้เหมาะสมและถูกต้อง เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลศูนย์เรียนรู้ฯ จัดทำแผนการถ่ายทอดความรู้ จำนวน 882 ศูนย์ จัดกระบวนการเรียนรู้แล้ว จำนวน882 ศูนย์ เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้ในศูนย์ฯ จำนวน 165,885 ราย 2) การสำรวจสถานภาพการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ใน 882 อำเภอ 77 จังหวัด 3) การจัดทำแนวทางการขยายผลศูนย์เรียนรู้ฯ สู่การจัดทำแปลงใหญ่ (ตามแนวทางการพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร (ด้านพืช) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) โดยได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ดำเนินงาน 200 จุด พร้อมเก็บข้อมูลเกี่ยวกับจุดดำเนินการ ประกอบด้วย ข้าว 134 จุด มันสำปะหลัง 21 จุด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 10 จุด และผลไม้ (ทุเรียน ลำไยเงาะ มะม่วง และมังคุด) 35 จุด นอกจากนี้ ในปี 2558 กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 87 พรรษา 5 ธันวาคม 2557 อีกด้วย


ที่มา : http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=14007 

<< ย้อนกลับ

มารู้จัก “สาคู” กันหน่อย

สาคู (Sago palm)

ชื่อวิทยาศาสตร์ของสาคู : Metroxylon sagu Rottb.

ชื่ออื่นของสาคู: สากู (มลายู-ใต้)
สาคูเป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้หลายฤดูฝน ลักษณะใบคล้ายใบคล้า ต้นคล้ายต้นขิง ต้นสูง ๖๐-๑๘๐ ซม. ขึ้นอยู่เป็นกอ หัวเล็กยาว แผ่กว้างลึก อีกชนิดหนึ่งต้นและใบคล้ายพุทธรักษา หัวสั้นใหญ่ มีหัวน้อยอยู่ไม่ลึก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
สาคู มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แมรันตา อะรันดินาซี แอล (Maranta arundinacea L.) อยู่ในตระกูล แมรันเตซี (Marantaceae) เป็นพืชเนื้ออ่อนมีอายุอยู่ได้ปลายฤดู มีหัวซึ่งเกิดจากลำต้นใต้ดินโดยหัวขยายตัวอยู่ใต้ระดับดิน หัวใหญ่ กลม ยาว ขนาดของหัว ๒.๕ ซม. ยาว ๒๐-๔๕ ซม. ใบเป็นชนิด แลนซิโอเลต (lanceolate) เหมือนใบคล้าดอกสีขาว เป็นช่อแฝด เมล็ดสีแดงแต่ไม่ค่อยติดเมล็ด แหล่งที่ปลูกสาคูมาก ได้แก่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น แบ่งตาม ลักษณะ หัวมีอยู่ ๒ ชนิด ชนิดหัวเล็กยาว แผ่กว้างและหยั่งลงในดินลึกเรียวเครโอล (creole) ชนิดหัวสั้นใหญ่ หัวไม่มาก หัวอยู่ไม่ลึก เรียกแบนานา (banana) ความจริงแล้วพืชทึ่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า แอร์ โรว์รูต ที่จัดเป็นพืชหัวยังมีอีก ๒ ชนิด ชนิดแรกได้แก่ ควรนส์แลนด์ แอร์โรว์รูต (Queensland arrowroot) และมีชื่อื่นอี คือ ออสเตรเลียน แอร์โรว์รูต (Australian arrowroot) เอดิเบิล แคนนา (edilbe canna) เพอร์เพิบ แอร์โรว์รูต (purple arrowroot) ไทยเราเรียกว่า “สาคูจีน” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แคนนา เอดูลิส (Canna edulis) เคอร์-กัล (Ker-Gawl) อยู่ในตระกูล แคนนาซี (Cannacean) เป็นพืชพวกเดียวกับพุทธรักษามีลักษณะต้น ใบเหมือนพุทธรักษา แต่ดอกเล็กกว่าหัวคล้ายหัวข่า รับประทานได้เหมือนสาคูธรรมดาที่กล่าวข้างต้น นอกจากสาคูที่กล่าวถึงข้างต้น แล้ว ยังมีสาคูอีกชนิดหนึ่งได้แก่ อิสต์ อินเดียน แอร์โรว์รูต (East Indian arrowroot) มีชื่ออื่นอีก เช่น โพลิเนเชียน แอร์โรว์รูต (Polynesian arrowroot) ทัคคา (tacca) ฯลฯ ไทยเรียกว่า “สาคูจีน” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ทัคคา เลออนโทเพทาลอยด์ แอล คุนทซ์ ๙ Tacca leontopetaloides (L) Kuntze) อยู่ในตระกูลทัคคาซี (Taccaceae) จึงได้นำมากล่าวไว้เพื่อป้องกันการสับสน

ฤดูปลูกสาคู
สาคู ขึ้นได้ในที่ที่มีฝน ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ มม. จึงควรปลูกในเวลาที่มีน้ำหรือสามารถให้น้ำได้เพียงพอตลอดอายุการเจริญเติบโต สาคูชอบอากาศร้อนและชื้น ฤดูปลูกที่เหมาะสม ได้แก่ ฤดูฝน การปลูกและการเตรียมพื้นที่ สาคูชอบที่ที่มีการระบายน้ำดี ดินเป็นกรดน้อยๆ ร่วนและลึก สามารถขึ้นได้ดีตั้งแต่ระดับน้ำทะเล จนถึงความสูงประมาณ ๙๐๐ เมตร เตรียมดินโดยไถและพรวนดิน ให้ร่วนขุดหลุมลึก ๑๐-๑๕ ซม. ระยะหลุมห่างกัน ๓๕-๔๐ ซม. ปลูกเป็นแถวระยะระหว่างแถวประมาณ ๗๕ ซม.

วิธีปลูกสาคู
โดยทั่วไปสาคู ปลูกจากหัว โดยตัดเป็นท่อนสั้นๆ ยาวประมาณ ๕ ซม. บางทีก็รมควันหัวเสียก่อนเพื่อให้งอกเร็วขึ้น บางครั้งก็ปลูกด้วยหน่อ (sucker) บางรายขุดเก็บหัวสาคูจากต้นแก่เท่านั้น ทิ้งต้นอ่อนที่เกิดจากหน่อให้เติบโตต่อไป ไม่ต้องปลูกใหม่ เริ่มปลูกเมื่อต้นฤดูฝน วางหัวที่เตรียมไว้ในหลุม ความลึกของหลุมประมาณ ๑๐-๑๕ ซม. กลบด้วยดิน ถ้าใช้ระยะปลูก ๗๕-๘๐ ซม. หัวที่ใช้เป็นพันธุ์ปลูก จะต้องมีจำนวนหนักประมาณ ๔๘๐-๕๖๐ กก./ไร่

การกำจัดวัชพืช
หลังจากปลูกสาคูแล้ว ควรดูแลอย่างให้มีวัชพืชแย่งอาหารต้นสาคู โดยกำจัดวัชพืชเมื่อต้นสาคูอายุ ๓-๔ เดือน เมื่อต้นสาคูออกดอกต้องคอยเด็ดทิ้งทันที เพื่อให้อาหารไปเลี้ยงหัวให้โตขึ้นแทนที่จะไปเลี้ยงดอกและเมล็ด

การใส่ปุ๋ยสาคู
การปลูกสาคูในต่างประเทศ ใช้ปุ๋ยผสมเกรด ๘-๕-๑๔ ในอัตราประมาณ ๑๔๐ กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ ๓ เดือนครึ่ง คนไทยปลูกสาคูโดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี อาจจะใส่ปุ๋ยคอกบ้างเล็กน้อย

โรคและแมลง
ต้นสาคู ไม่มีโรคและแมลงรบกวนมากนักแมลงที่อาจพบ ได้แก่ หนอนม้วนใบ โรคที่พบมีโรคใบจุด ไม่ทำความเสียหายร้ายแรงนัก

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
สาคู มีอายุประมาณ ๑๐-๑๑ เดือน สังเกตได้โดยใบเริ่มเหี่ยวตาย จึงเก็บโดยขุดและเก็บด้วยมือ ตัดแยกหัวออกจากต้นและใบ ผลผลิตของหัวสาคูมีประมาณ ๒,๐๐๐ กก./ไร่ เมื่อขุดขึ้นจากดินแล้ว จะเก็บหัวไว้ได้ไม่นาน จะต้องใช้ภายใน ๒-๗ วัน

ประโยชน์ของสาคู
แป้งสาคู นับเป็นคาร์โบไฮเดรตที่บริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากธรรมชาติและมีความเหนียวสูงสุด การวิเคราะห์หัวสาคู ประเภท “เครโอล” ประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๖๙.๑ เถ้าร้อยละ ๑.๔ ไขมันร้อยละ ๐.๑ เส้นใยร้อยละ ๑.๓ โปรตีนร้อยละ ๑.๐ แป้งร้อยละ ๒๑.๗ สำหรับหัวสาคูประเภท “แบนานา” ประกอบด้วยความชื้นร้อยละ ๗๒.๐ เถ้าร้อยละ ๑.๓ ไขมันร้อยละ ๐.๑ เส้นใยร้อยละ ๐.๖ โปรตีนร้อยละ ๒.๒ แป้งร้อยละ ๑๙.๔ แป้งสาคูประกอบด้วยเม็ดยาวรี ยาวประมาณ ๑๕-๗๐ ไมครอน พวก แบนานา มีเม็ดแป้งใหญ่กว่าพวกเครโอล เล็กน้อย ส่วนใหญ่ใช้หัวทำแป้ง ซึ่งเป็นแป้งที่ย่อยง่ายมาก ส่งออกสู่ตลาดเป็นแป้งผล สีขาว เรียก “แป้งสาคู” นิยมใช้เป็นอาหารทารก และทำอาหารอย่างอื่น เช่น ขนมปัง ขนมต่าง ๆ แพทย์ให้คนป่วยด้วยโรคลำไส้รับประทาน แป้งสาคู นอกจากนี้เราใช้แป้งสาคูทำ “ผงแบเรียม” (barium meals) และใช้ในอุตสาหกรรมยา ทำแป้งผัดหน้า ทำกาวและทำ กระดาษ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ หัวสาคูใช้เป็นอาหาร โดยต้มหรือเผาเสียก่อน หัวสดนำมาโม่จะได้แป้งสาคูใช้ทำขนมได้ดี ใบและต้น สาคูใช้ในการบรรจุหีบห่อได้ กากที่เหลือจากการทำแป้งแล้วใช้เป็นอาหารสัตว์และทำปุ๋ย คนไทยต้มหรือนึ่งสาคูรับประทาน เป็นของ หวาน แต่ปริมาณสาคูที่ใช้เป็นของหวานมีไม่มากนัก



เครดิต : http://www.vegetweb.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B9/

<< ย้อนกลับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

เสวนาการพัฒนาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนระดับจังหวัด ประจำ ปี ๒๕๕๘

 

 นายเสรีย์ แป้นคง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการจัดเสวนาการพัฒนาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนระดับจังหวัด
ประจำ ปี ๒๕๕๘

10155904_941544905865506_8334997203649119541_n 10426334_941544982532165_5915498430696432742_n

   
เพื่อเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และหาแนวทางในการเชื่อมโยงการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนให้แก่ประธานและสมาชิกศูนย์ฯ ในการจัดเสวนาในครั้งนี้มีประธาน และสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จากอำเภอต่างๆ เข้าร่วมการเสวนา ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช  เมื่อวันพุธที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๘

10882350_941544939198836_3030605657768414748_n 10885020_941544979198832_2135485535748297119_n
10923552_941544922532171_3166018364234744932_n 10923552_941544922532171_3166018364234744932_n
10933894_941544969198833_2561196964636987495_n 10945576_941544945865502_4413524569288286751_n

<< ย้อนกลับ

                                                                                                               อนุวัต จำปาทอง  : ภาพ/ข่าว
                                                                                                              ชาญวิทย์ สมศักดิ์ : เผยแพร่

การประชุมเร่งรัดดำเนินงานโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง

 

 นายเสรีย์ แป้นคง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในการประชุมเร่งรัดดำเนินงานโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อให้การดำเนินงานโครงการฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งให้รายงานผลการรับแจ้งเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ที่ยังไม่ได้บันทึกเข้าสู่ระบบสารสนเทศ เพื่อสรุปยอดการรับแจ้งเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ต่อไป โดยมี มีเกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานโครงการฯ จากอำเภอต่างๆ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อช่วงเช้า วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๘

8990_941512835868713_1496230865949584579_n 1610867_941512829202047_691962538464654409_n
1888741_941512915868705_9031468908503617615_n 10351830_941512875868709_1762433446244111089_n
10888369_941512869202043_6817524419155014782_n 10906338_941512919202038_43854500961257047_n
10906338_941512919202038_43854500961257047_n 10933929_941512905868706_4737092469353018260_n
10945694_941512879202042_3214385586647654910_n 10947309_941512832535380_2316817923908033352_n

<< ย้อนกลับ

                                                                                                                                   อนุวัต จำปาทอง : ภาพ/ข่าว
                                                                                                                                ชาญวิทย์ สมศักดิ์  : เผยแพร่

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

นายเสรีย์ แป้นคง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมเป็นเกียรติในการต้อนรับที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ

 

วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๘ นายเสรีย์ แป้นคง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วย นายเสถียร พรประสิทธิ์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต ร่วมเป็นเกียรติในการต้อนรับ นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ   นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ เดินทางมาราชการ ณ ท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อดูงานตลาดกลางยางพารา การผลิตและอัดก้อนยางแผ่นรมควันของสหกรณ์กองทุนสวนยางจันดี จำกัด และรับฟังความคิดเห็นของสถาบันเกษตรกรผู้แปรรูปยางจากจังหวัดกระบี่ ณ อำเภอช้างกลาง และอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

1461472_937825126237484_17021692215905315_n 15517_937825979570732_2082133727959560501_n
1463766_937825099570820_3027533016401141546_n 10442518_937825562904107_3292675625971164148_n
10514506_937825662904097_341379933558378598_n 10675661_937826106237386_3127169515188611158_n
10858411_937826076237389_6456031757121138015_n 10923193_937825132904150_6131853496770404608_n
10926387_937826089570721_9209280085029389823_n 10926460_937825222904141_1157043853439278613_n
10930025_937825769570753_7531355824644724004_n 10929145_937825942904069_738531076401538985_n
   

<< ย้อนกลับ

                                                                                                                                    อนุวัตร จำปาทอง  :  ภาพ/ข่าว

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมถ่ายทำสารคดีกับ NBT เรื่องเส้นทางเงาะนอกฤดู

 

วันที่ 13 มกราคม 2558 นายเสรีย์ แป้นคง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมถ่ายทำสารคดีเกษตร กับทีมงาน NBT เรื่องเส้นทางตลาดเงาะนอกฤดู ของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเงาะนอกฤดูอำเภอชะอวด โดยการประสานงานของนิพนธ์ สุขสะอาด หัวหน้า กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร และเกษตรอำเภอชะอวด เฉลิม อารีย์ และเกษตรกรในพื้นที่ชะอวด ผลผลิตดี ตลาดดี ราคาดี ปีนี้ทำเงินหลายร้อยล้าน เกษตรจังหวัดบอก ต้องขยายพื้นที่เพิ่ม เพื่อสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กลุ่มเข้มแข็ง และลดการกระจุกตัวของผลผลิตเงาะในฤดูด้วย มีของดีต้อง เชียร์กันหน่อยครับ

109568 109569
109571 109572
109573 109574
109576 109570
   

<< ย้อนกลับ http://www.nakhonsri.doae.go.th/

                                                                                                                                         นิพนธ์ สุขสะอาด  : ภาพ/ข่าว

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับ NBT ถ่ายทำสารคดีการผลิตทุเรียนนอกฤดูกาลเพื่อการส่งออก

 

วันที่ 15 มกราคม 2558 นายเสรีย์ แป้นคง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช มอบหมายให้นายนิพนธ์ สุขสะอาด หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ร่วมถ่ายทำสารคดีเกษตร รายการรอบภูมิภาคกับทีมงาน NBT เรื่องการผลิตทุเรียนนอกฤดูเพื่อการส่งออก ของสมาชิกกลุ่มทุเรียนนอกฤดู ตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ โดยการประสานงานของนายอดิศักดิ์ ตำเมือง เกษตรอำเภอนบพิตำ นายพงพัฒน์ พิมเสน ผู้รับผิดชอบตำบล และนายประพันธ์ แดงพรหม ประธานกลุ่ม เรือตรีวิจิตร เมืองพรหม เลขากลุ่ม และสมาชิกกลุ่มที่ร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง การขยายผลองค์ความรู้การผลิตทุเรียนคุณภาพ การมุ่งให้ได้ผลิตที่ปลอดภัย ลดต้นทุน  และขยายพื้นที่เพิ่ม เพื่อสร้างโอกาส สร้างรายได้เพิ่มให้สมาชิกกลุ่มเข้มแข็ง และลดการกระจุกตัวของผลผลิตทุเรียนในฤดูด้วย ของดี มีคุณภาพระดับส่งออก ยิ่งออกนอกฤดู ราคาหายห่วงครับ

109793 109794
109795 109798
109796 109797
109799  
   

<< ย้อนกลับ

                                                                                                                 ภาพ/ข่าว : นิพนธ์ สุขสะอาด

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

ตรวจเยี่ยมศูนย์การศึกษาเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ


วันที่ 13 มกราคม 2557 นายเสรีย์ แป้นคง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช
มอบหมายให้นายนิพนธ์ สุขสะอาด หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัมนาเกษตรกร ร่วมต้อนรับ พลตรี องอาจ ชวาลวิวัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 6 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ศปป.6 กอ.รมน.) และคณะ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จาก สนง.กษอ.ชะอวด สนง.กษจ.นครศรีธรรมราช  และ สสข.8 สฏ. ร่วมติดตาม ตรวจเยี่ยมศูนย์การศึกษาเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและเศรษฐกิจพอเพียง ณ. ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

109427 109428
109429 109430
109431
<< ย้อนกลับ
                                                                                                                                                                                                                                                                         ภาพ/ข่าว : นิพนธ์ สุขสะอาด