วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จ.สงขลา และสำนักงานเกษตรอำเภอพิปูน ประชุมอบรมตรวจระบบและตรวจแปลงภายในสำหรับรองรับ GAP แบบกลุ่ม (ทุเรียน) ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปรับปรุงไม้ผลตำบลควนกลาง หมู่ที่ 1 ต.ควนกลาง อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช




 
เมื่อวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2557 นางสาวศิริกุล ศรีแสงจันทร์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษและนายจตุรงค์ พรหมวิจิต นักวิชาการเกษตรชำนาญการ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จ.สงขลา (สสข.5 สงขลา) ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอพิปูน ซึ่งนำโดย นายวินัย วรรธนะนาถ เกษตรอำเภอพิปูนและคณะ ได้มีการอบรมเกษตรกร เรื่องระบบควบคุมภายในสำหรับรองรับ GAP แบบกลุ่ม (ทุเรียน) ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปรับปรุงไม้ผลตำบลควนกลาง ตามโครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน      ปี 2557 ณ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีตำบลควนกลาง หมู่ที่ 1 ต.ควนกลาง อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช  มีเกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 20 ราย
 
 

ในครั้งนี้เป็นขั้นตอนการตรวจสอบแปลงภายในและฝึกการนำเอกสารแบบฟอร์มการตรวจสอบแปลงภายในไปทดลองปฏิบัติจริง และในวันที่ 19 สิงหาคม 2557 จะมีการประชุมตรวจติดตามการฝึกปฏิบัติการตรวจสอบแปลงภายในของผู้ตรวจสอบแปลงภายในและระบบควบคุมภายในรวมถึงประชุมเพื่อตรวจติดตามและประเมินความพร้อมระบบควบคุมภายในอีกครั้ง ก่อนส่งสมัครขอการตรวจรับรองมาตรฐานแหล่งผลิต GAP แบบกลุ่ม จากหน่วยตรวจรับรองภายนอก

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปรับปรุงไม้ผลตำบลควนกลาง จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2535 จากการรวมตัวของเกษตรกรจำนวน 30 คนที่ปลูกไม้ผล ในตำบลควนกลาง อำเภอพิปูน ปัจจุบันสมาชิกทั้งหมด 32 คน  สมาชิกมีการปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน ปัจจุบันสมาชิกส่วนใหญ่ปลูกทุเรียนเป็นหลัก และเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปรับปรุงไม้ผลตำบลควนกลาง ปัจจุบันกลุ่มมีเงินทุนหมุนเวียน 300,000 บาท พื้นที่ปลูกทุเรียนของสมาชิกกลุ่มทั้งหมด  178  ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิต  88 ไร่ ปริมาณผลผลิต  1,607 ตัน  ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 1.9 ตัน สมาชิกได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP แปลงเดี่ยวแล้ว จำนวน 10 ราย และมีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมรับรองมาตรฐาน GAP แบบกลุ่ม จำนวน 20 ราย

การขอการรับรองมาตรฐานแหล่งผลิต GAP แบบกลุ่ม เป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรสามารถยื่นขอการรับรองฟาร์มมาตรฐานได้โดยเสียเวลาและค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการยื่นขอรับรองแบบรายเดี่ยว ก่อนที่จะยื่นขอรับรองสมาชิกทุกรายในกลุ่มต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐาน และหลักเกณฑ์เงื่อนไขของกลุ่ม ที่สำคัญต้องมีการจัดทำระบบควบคุมภายใน ที่พัฒนาขึ้นโดยสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ(IFOAM) ซึ่งสมาชิกจะต้องตรวจสอบกันเองภายในกลุ่มก่อนจะมีการตรวจสอบรับรองจริงจากหน่วยตรวจ ซึ่งคาดว่าจากการขอการรับรองมาตรฐานแหล่งผลิต GAP แบบกลุ่ม ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปรับปรุงไม้ผลตำบลควนกลางนี้ จะเป็นอีกแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในอำเภอพิปูนที่ประสบปัญหาทางด้านราคา ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ที่ได้อาศัยความร่วมมือของภาครัฐ เกษตรกรและผู้ส่งออกเอง ก่อนจะเข้าสู่ตลาดการแข่งขันในการเปิดประชาคมอาเซียนที่จะมาถึงในอนาคต
 สุพัตรา รัตนะ : ภาพ
อรทัย  บุญเคน : ข่าว

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เกษตรอำเภอทุ่งใหญ่ เยี่ยมเยียนศูนย์เรียนรู้ บ้านควนอวดพัน หมู่ที่ 8 ตำบลปริก

          เกษตรอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เยี่ยมเยียนศูนย์เรียนรู้ บ้านควนอวดพัน หมู่ที่ 8 ตำบลปริก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
         
          วันจันทร์ ที่ 28 กรกฎาคม 2557 เวลา 13.00 น. นายประสาท กาญจนคลอด รักษาการในตำแหน่งเกษตรอำเภอทุ่งใหญ่ และ นางวาสนา โกละกะ นวส.ปฏิบัติงาน ได้ไปเยี่ยมเยียนศูนย์เรียนรู้ บ้านควนอวดพัน ได้เข้าดูกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การปลูกข้าวไร่ และการปลูกพืชผักสวนครัว

นายประสาท กาญจนคลอด รักษาการในตำแหน่งเกษตรอำเภอทุ่งใหญ่ และ นางวาสนา โกละกะ นวส.ปฏิบัติงาน เยี่ยมชม โรงปุ๋ยหมักชุมชน


แปลงข้าวไ่ร่ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

วาสนา,รุจิรา:ภาพ/ข่าว

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สำนักงานเกษตรอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ระดับอำเภอ ครั้งที่ 2/2557 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุมไอยรา อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

สำนักงานเกษตรอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนระดับอำเภอ ครั้งที่ 2/2557  โดยนายศิริพล พิพัฒน์รัตนเสรี นายอำเภอช้างกลาง เป็นประธานเปิดการประชุม      เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม  ๒๕๕๗  ณ ห้องประชุมไอยรา อำเภอช้างกลาง                 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้เข้าร่วมประชุม  25 คน เพื่อดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ให้สามารถดำเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่อง และในที่ประชุมนายสมคิด วรรณกูล                เกษตรอำเภอช้างกลาง ได้สอบถามหน่วยงานภาคีเครือข่ายในการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน ซึ่งทางเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ได้มีการสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องแต่มีข้อกำหนดว่าต้องมีกิจกรรมต่อเนื่อง ต้องจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน มาไม่น้อยกว่า 1 ปี และในที่ประชุมก็ได้แจ้งปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจด้วย



                                                           ว่าที่ ร.ต. หญิงประภาพร วิกล 
ประชาสัมพันธ์สำนักงานเกษตรอำเภอช้างกลาง
                                                                                       โทร 075-445722, 087-2857836 


วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เกษตรอำเภอทุ่งใหญ่ จัดอบรมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนดีเด่น ณ.กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หมู่ 10 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันอังคารที่  17  มิถุนายน  2557

เกษตรอำเภอทุ่งใหญ่ จัดอบรมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนดีเด่น ณ.กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หมู่ 10 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช



               วันอังคารที่  17  มิถุนายน  2557 นางอรชา หมวดเมือง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  นางวาสนา  โกละกะ นักวิชาการส่งเสริมการปฏิบัติการ และนางประทีป  กลิ่นพงศ์ เจ้าพนักงานธุรการ ชำนาญงาน  นำสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเหนือคลอง หมู่ 9 ตำบลปริก  วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ จำนวน 20 คน  อบรมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนดีเด่น ณ.กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หมู่ 10 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช


                         


 โดยมี นางยินดี ชันสิทธ์ ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มให้การต้อนรับ และชี้แจ้ง การดำเนินงานของกลุ่มและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกกลุ่มของอำเภอทุ่งใหญ่ มีรายละเอียดดังนี้ คือ..
               วิสาหกิจชุมชน หมู่ 10 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นางยินดี ชัยสิทธ์ เป็นประธานกลุ่ม อาชืพหลักของกลุ่มทำสวนยางพารา มีสมาชิกกลุ่ม 200 คน


                                   

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนของอำเภอทุ่งสงมีส่งเข้าประกวดกลุ่มงานสถาบันดีเด่นที่ 1 ระดับจังหวัด  ระดับภาค และรางวัลชมเชยระดับประเทศ แนวทางการดำเนินงานของกลุ่มมีดังนี้
               มีการแต่งตั้งกรรมการกลุ่มชุดใหญ่  และมีการแต่งตั้งกรรมการกลุ่มย่อย ของแต่ละกิจกรรมกลุ่มเช่น กลุ่มเต้นและผูกผ้าเต้นท์  กลุ่มปลูกผักสวนครัว  กลุ่มเครื่องแกง  กลุ่มน้ำยาล้างจาน และมีการประชุมกลุ่มเดือนละ 1 ครัง  นอกจานี้กลุ่มยังมีกิจกรรมออมสัจจะ โดยเก็บเงินจากสมาชิกในวันประชุมประจำเดือนของกลุ่ม พร้อมปล่อยเงินกู้ และคืนดอกเบี้ย ทุกกิจกรรมจะมีบันผลทุกปี กิจกรรมของกลุ่ม 2-3 ปี/ครั้ง เพื่อพบปะสังสรรค์
               นอกจากนี้ทางกลุ่มยังจัดกิจกรรมให้คณะกรรมการศึกษาดูงาน และพัฒนาอาชืพของกลุ่ม เพื่อเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดวิชาการต่างๆด้านการเกษตรและการแปรรูปของกลุ่ม



                             
นางอรชา หมวดเมือง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ดำเนินการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้




นางยินดี ชัยสิทธ์ เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หมู่ 10 ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราชให้แนวทางในการดำเนินงานกลุ่ม

                                                                                                              วาสนา โกละกะ : ภาพ/ข่าว
                                                                                                              อรชา หมวดเมือง : รายงาน

<< ย้อนกลับ

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สำนักงานเกษตรจังหวัดฯ เตรียมความพร้อมวิสาหกิจชุมชนเข้าสู่ AEC

นายสมนึก  เหมมณี เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดการอบรมกลุ่มผู้ผลิต ตามโครงการ การสร้างขีดความสามารถการแข่งขันสำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูป เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2557 ณ ห้องประชุมศรีวิชัย ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 118 ราย ประกอบด้วย ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกับสำนักงานเกษตรจังหวัดฯ ทั้ง 23 อำเภอ จำนวน 90 ราย เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานเคหกิจระดับอำเภอและจังหวัด จำนวน 28 ราย

เปิดมุมมองนักวิชาการเกษตรบรรจุใหม่เยี่ยมชมฐานเรียนรู้ปุ๋ยหมักชีวภาพ บ้านควนอวนพัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช



เปิดมุมมองนักวิชาการเกษตรบรรจุใหม่เยี่ยมชมฐานเรียนรู้ปุ๋ยหมักชีวภาพ บ้านควนอวนพัน  อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
            เมื่อวันอังคารที่ 24 สิงหาคม  2557 เวลา 14:00   นางวาสนา  โกละกะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เยี่ยมชมฐานเรียนรู้ปุ๋ยหมักชีวภาพ บ้านควนอวนพัน  ณ หมู่ที่ 8 ต ปริก อ ทุ่งใหญ่ จ นครศรีธรรมราช ได้เข้าพบ ผู้ใหญ่สุทันยา ชูมณี
            พบว่ากลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง ผลิตปุ๋ยชีวภาพ เพื่อใช้และจำหน่ายสมาชิกภายในกลุ่ม สามารถลดต้นทุนการผลิตในการปลูกพืชได้ดี  หากแต่ในปัจจุบันชาวสวนยางประสบปัญหาราคายางตกต่ำ จึงได้มีการพูดคุยถึงแนวทางในการแก้ปัญหาว่าอาจจะต้องมีการลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยการทำเครื่องอุปโภค บริโภคเช่น สบู่ ยาสระผม น้ำยาอเนกประสงค์ มีการปลูกผักสวนครัว ใช้เองภายในครัวเรือน เพื่อเป็นแบบอย่างทางผู้ใหญ่สุทันยา ชูมณี จึงได้มีการทำศูนย์เรียนรู้ ให้ประชาชนในชุมชนได้ศึกษา โดยทำการปลูกผักและปลูกข้าวเป็นต้นแบบในชุมชน


                                                                                                                                   วาสนา:ภาพ/ข่าว

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อำเภอพระพรหม ประชุมคณะปฏิบัติการประจำตำบลดำเนินการสำรวจและขึ้นทะเบียนผู้เช่านาในฤดูกาลผลิต ปี ๒๕๕๗

                  นายสกุล  ดำรงเกียรติกุล  นายอำเภอพระพรหม  ประชุมชุดปฏิบัติการประจำตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ดำเนินการสำรวจและขึ้นทะเบียนผู้เช่านาในฤดูกาลผลิต ปี ๒๕๕๗
โดยมีนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลเป็นคณะทำงาน  ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2557


 






วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เกษตรอำเภอพระพรหม ร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้รับชอบงานเคหกิจมอบวัสดุและปัจจัยทางการเกษตรกลุ่มยุวเกษตรกร

            วันที่  8  กรกฎาคม 2557  นายถาวร  เรืองเต็ม  เกษตรอำเภอพระพรหม และนางพรรณี  ตรีตรง     นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ผู้รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตร เยี่ยมกลุ่มเกษตรกรและมอบวัสดุ  ปัจจัยทางการเกษตรแก่กลุ่มยุวเกษตรกร  โรงเรียนเชิงแตระ  หมู่ที่  6  ตำบลท้ายสำเภา   อำเภอพระพรหม  จังหวัดนครศรีธรรมราช 

มอบปัจจัยการผลิตกลุ่มยุวเกษตร

 เยี่ยมแปลง

เตรียมแปลงปลูก

        กิจกรรมโรงเรียน