วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Web blog กับระบบส่งเสริมการเกษตร MRCF

            

 Web blog  ชุดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตร การอบรมข้าราชการคลื่นลูกใหม่ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ ๑๙-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ ยุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช 


            ชุดวิชานี้ผมผู้เขียน รับหน้าที่เป็นวิทยากรครับ  ด้วยมีแนวคิดว่า  ในระบบ MRCF หวังพึ่งพาระบบเทคโนโลยีในเครือข่ายอินเตอร์เนต ให้เป็น Remote Sensing ที่มีประสิทธิภาพให้เป็นไปตามนโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร อันเป็นผลประโยชน์ของเกษตรกรโดยตรงที่จะได้รับบริการที่รวดเร็ว  และเป็นเครื่องมือช่องทางอำนวยความสะดวก ประหยัดเวลาแก่เจ้าหน้าที่นักส่งเสริมการเกษตรผู้เป็น Smart Extention Officer  




              ผมสร้าง Web Blog หวังไว้ให้น้อง ๆ คลื่นลูกใหม่ที่ส่วนใหญ่มีฐานความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์อยู่พอสมควรแล้วสามารถต่อยอดเรียนรู้ฝึกฝนเพิ่มเติมเองได้  ด้วยผมมองว่า... การจัดทำเว็บไซต์ที่ดำเนินการอยู่มีขั้นตอนมากพอควร ต้องใช้โปรแกรม ทำเสร็จต้องอัปโหลดขึ้นต้องลดภาพ  ซึ่งจะเรียกว่ายากเลยก็ว่าได้สำหรับมือใหม่  และก็ได้ทดสอบสร้าง Blog เล่น ๆ เป็นการศึกษาโดยส่วนตัวมาก่อนแล้วหลายปี ได้จังหวะกับระบบ MRCF ของกรมฯ ขับเคลื่อนมาก็เข้ากันพอดี



             การถ่ายทอดแนะนำแค่ให้ รู้ว่าเข้าไปเขียนทางไหน และอัปโหลดรูปภาพกิจกรรมขึ้นแสดงอย่างไร ใน Blog ที่ผมสร้างไว้ คือ Blog นี้ ส่วนน้อง ๆ ผู้มีความสามารถสร้าง Blog เป็นของตนเองได้ก็ดีไปอีกส่วน หากสร้างไม่เป็นก็เอาแค่เข้าเป็น  เขียนบันทึกได้ อัปโหลดภาพขึ้นแสดงได้ ซึ่งเรียนและฝึกผ่านไปแล้วช่วงเช้า วิทยากรโดย ผอ.สุริน รักษาแก้ว  หากจะลิ้งกับแผนที่ ที่สร้างด้วย Google Map ที่เรียนและฝึก  วิทยากรโดย ผอ.ณัทธร รักษ์สังข์ ก็เพิ่งผ่านไปก่อนผมขึ้นมาจับไมท์ไม่นาน      

             หากมีการบันทึกเขียนเล่าเรื่องราว กันหลาย ๆ คน ในขณะที่ทำงานด้วยกระบวนการระบบ MRCF เราก็ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน จะเรียกว่า เวที KM ด้วยระบบ Remote Sensing ก็ไม่ผิดเลย 




                คงจะสร้างความเข้าใจได้ว่า ระบบ MRCF คือระบบงาน แต่ไม่ใช่งาน  Blog คือ เครื่องมือและช่องทางที่ช่วยทุนแรงของระบบใหญ่ (MRCF) 


                      เทคนิคอีกอย่าง ที่ผมเองก็ได้เรียนรู้เพิ่ม และได้บอกเล่าแก่น้อง ๆด้วย ก็คือ วิชานี้ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เนต แต่บังเอิญว่า ธรรมชาติที่ร่มรื่น สดชื่นสวยงามอย่างที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงทุ่งสง ก็ใช่จะให้เราได้ตามที่เราต้องการทั้งหมด ที่นี่คลื่นวิทยุกระเพื่อมเข้าไปอย่างยากลำบาก เป็นป่า เป็นเขา เนตใช้ไม่ได้ ด้วยเคยดูการสาธิตการบันทึกหน้าจอคอมฯ ใน Youtube ลองค้นคว้าดูก็รู้ได้ว่ามีโปรแกรมจับภาพหน้าจอได้ด้วย ก็หาดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้ง ก็เลยใช้วิธีนี้ฝึกหลาย ๆ รอบ



เมื่อคล่องมือดีแล้วก็ลงมือจัดทำการบันทึกสาธิตการเขียนบันทึก Blog เป็นภาพยนตร์ ครับแล้วเอามาเปิดให้น้อง ๆ ดู จริง ๆ อัดเสียงมาด้วยแล้วแต่เสียงเบา ก็พูดสด ๆ ไปกับภาพเคลื่อนไหวที่อัดมา ดู ๆ ก็เหมือนต่อเนตทำสด ๆ จริงเป๊ะ........ไม่บอกไม่รู้.


   ชาญวิทย์-นครศรีฯ : บันทึก


<< ย้อนกลับ


วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Google Map กับระบบส่งเสริมการเกษตร MRCF



Google Map  

วิชาที่บรรจุในการอบรมข้าราชการคลื่นลูกใหม่ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช 

              โดย  ณัทธร รักษ์สังข์  ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๘ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และทักษะการปฏิบัติ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ณ อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง ให้กับน้อง ๆ ข้าราชการคลื่นลูกใหม่

              เพื่อให้สามารถจัดการระบบ Remote Sensing  สร้างความสมบูรณ์ของระบบส่งเสริมการเกษตร MRCF (ระบบใหญ่) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ







ชาญวิทย์-นครศรีฯ  :  บันทึก


นครศรีธรรมราช จ่ายเงินจำนำข้าว

นครศรีธรรมราช จ่ายเงินโครงการรับจำนำข้าว 48 ล้านบาท

    นายสมนึก เหมมณี เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมมอบเงินตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 จากงบรัฐบาลและงบกองทุนช่วยเหลือชาวนา  โดยนายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานมอบ ร่วมกับ ธกส.จังหวัดนครศรีธรรมราช และ คสช.

   ซึ่งงบประมาณที่ได้รับมาในครั้งนี้ 48 ล้านบาทจะกระจายให้แก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ผ่านทาง ธกส.7 สาขา คือ  หัวไทร  8.8 ล้านบาท   เชียรใหญ่  18 ล้านบาท ดอนแค(อ.หัวไทร)  7 ล้านบาท   เมืองนครศรีธรรมราช 6.07 ล้านบาท   ปากพนัง 1.4 ล้านบาทปากพนังฝั่งตะวัตก(อ.ปากพนัง) 6.4 ล้านบาท   และท่าศาลา 0.33 ล้านบาท




 
 
 
  

                                                  ณัฐวัตร นวลรอด : ภาพ/ข่าว
      





วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Remote Sensing กับภาพหนอนกินยอดมังคุด

หนอนกินใบอ่อนมังคุด 

วันนี้(๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗) ผู้เขียนทำหน้าที่ขับรถกลับจากงานฌาปนกิจพี่ชายเกษตรอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างทางได้ยินน้องแจว ณัฐวัตร นวลรอด พูดถึงว่าได้ถ่ายภาพหนอนกัดกินยอดมังคุดมา เมื่อมาถึงสำนักงานเห็นน้องแจว อัปโหลดรูปภาพตามที่แกพูดขึ้น facebook (เพจของเกษตรจังหวัด) ผู้เขียนจึง Copy URL ภาพเหล่านั้นมาส่วนหนึ่งและภาพของกลุ่มอารักขาพืชมาส่วนหนึ่งด้วย ซึ่งเชื่อมโยงกัน

               ในบันทึกนี้ขอกล่าวถึง ระบบ MRCF ในส่วนประเด็นของ R : Remote Sensing  ซึ่งมีประโยชน์กับเกษตรกรผู้รับบริการเป็นอย่างมาก และกับเจ้าหน้าที่นักส่งเสริมก็ช่วยแนะนำเกษตรกรได้ทันทีทันควัน





 

                                                 ๔ รูปนี้น้องแจว เป็นผู้อัปโหลด


                                         ๒ รูปนี้ กลุ่มอารักขาพืช เป็นผู้อัปโหลดขึ้น 


ภาพ ๒ ชุดนี้ ไม่ได้มีการนัดหมายของผู้อัปโหลดขึ้นแสดง  แต่ไปเชื่อมโยงกันเอง เมื่อเราสร้างช่องทางไว้ คือ  Page ของ facebook ของสำนักงานเกษตรจังหวัด

ประเด็นบันทึกขอพูดถึง R : Remote Sensing  ให้เห็นประโยชน์ของ R นี่คือประโยชน์ในวิถีประจำวันของพี่น้องเกษตรกร และนักส่งเสริมที่แทบไม่ต้องอธิบาย นี่คือประโยชน์และประสิทธิภาพของ ระบบ MRCF ที่เป็นนโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร

             ถ้าเกษตรกรเจ้าของสวนมีโทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้เชื่อมเนตได้ หรือกล้องถ่ายรูปทั่วไป ดำเนินการส่งภาพขอความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ก็สามารถให้คำแนะนำได้ทันที นี่คือ R : Remote Sensing  แค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น

ด้านเทคนิค
รูปภาพที่นำมาแสดงในบันทึกนี้ ดำเนินการโดย Copy URL ของรูปจาก facebook เท่านั้นไม่ได้ Copy ไฟล์รูปมา โครงข่ายอินเตอร์เนตเชื่อมโยงกัน เรียกไปที่เก็บรูปอยู่ที่ไหนก็ตามมันจะแสดงผลให้เห็นได้ รูปนี้ ไฟล์เก็บที่ Server ของ facebook  เรียกไปมันก็แสดงผลให้เราครับ..




                                                                                                        ชาญวิทย์-นครศรีฯ : บันทึก



อบรมข้าราชการคลื่นลูกใหม่ ตอน ๒

การประชาสัมพันธ์  การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออย่างมืออาชีพ
ว่าด้วยสื่ออินเตอร์เนท และ New Media 


               เป็นชุดวิชาที่กำหนดในหลักสูตรการอบรมน้อง ๆ ข้าราชการคลื่นลูกใหม่ในครั้งนี้  เราได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการสถานทีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดกระบี่(สุริน รักษาแก้ว) ให้ความอนุเคราะห์เป็นวิทยากรให้



                                


น้อง ๆ คลื่นลูกใหม่ทยอยเดินออกจากเต็นท์ ทานอาหารว่าง กลับสู่ห้องอบรม เมื่อเสียงเพลงและดนตรีเล่นสด ๆ ของทีมงานนันทการอุทยานดังขึ้น เพลงแรกถือว่าเรียกแขกได้ผล เพลงดังไม่นานทุกคนพร้อมเร็วกว่าปกติเท้าย่างเดินมาตามเสียงเพลงว่างั้น  และถัดมาเราได้ฟังเพลงสร้างจิตสำนึกรักษ์ป่า รักษ์น้ำ อนุรักษ์สัตว์  เพลงและความหมายไพเราะจับใจครับ ...



ลีลาการทำหน้าที่วิทยากรของนักประชาสัมพันธ์มืออาชีพก็เริ่มขึ้น เมื่อเสียงเพลงของทีมอุทยานฯ จบลงด้วยความประทับใจของผู้เข้าอบรมที่เป็นผู้ฟัง และพิธีกร(ฝึกทำ) น้องนุ้ยก็เรียนเชิญวิทยากร  และมืออาชึพอย่าง ผอ.สุริน เริ่มหน้าบทด้วยการยกตัวอย่างสิ่งที่ผ่านไปหมาด ๆ ให้เห็นเป็นประจักษ์ คือเสียงเพลงของทีมอุทยานฯว่า นั้นคือการประชาสัมพันธ์ การบอกเล่าเรื่องราวด้วยเสียงเพลงและดนตรี เรานึกว่าเราฟังเพลงหรือ? .....แต่นั้นเราถูกการประชาสัมพันธ์องค์กรและบทบาทหน้าที่ของเขาเข้าให้แล้ว ตัวอย่างนี้เยี่ยมยอดจริง ๆ ครับ


น้อง ๆ คลื่นลูกใหม่ได้รับความรู้และทักษะการประชาสัมพันธ์ อย่างสดชื่นเฮฮา ด้วยลีลาของมืออาชีพ
เช่น ความหมาย ข้อมูลข่าวสาร องค์ประกอบของข่าวสารประชาสัมพันธ์  การเขียนข่าว ขั้นตอน เทคนิค วิธีการ  การใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์อย่างมืออาชีพ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เนท และ New Media







ชุดความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ครั้งนี้ถือได้ว่า มีคุณค่าสุด ๆ ผู้เขียนเชื่อว่า
น้อง ๆ ทุกคนได้รับความรู้และทักษะเต็ม ๆ ด้วยที่เห็นทุกคนตั้งใจอย่างมาก ฟัง จด 
ตอบสนองมีส่วนร่วมกับวิทยากรตลอดเวลาของการถ่ายทอด เยี่ยมมากครับ..


                                                                                                                         ชาญวิทย์-นครศรีฯ : บันทึก


<< ย้อนกลับ                    << อ่านตอนแรก      



วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

อบรมข้าราชการคลื่นลูกใหม่




องค์กรเดินสู่เป้าหมายได้ บุคลากรต้องเรียนรู้และพัฒนาต่อเนื่อง..


หลังจากกลับจากสัมมนาที่หาดใหญ่เกี่ยวกับการสร้างแผนที่ ช่วง ๒๗-๓๐ เมษายน ๒๕๕๗ จัดโดยสำนักส่งเสริมและพัฒนาฯ เขต ๕ สงขลา  เข้าทำงานตามปกติพบเห็นทีมงานกลุ่มยุทธศาสตร์ ฯ กำลังเตรียมการอะไรบางอย่างมากมาย สอบถามได้ความว่า จะอบรมน้อง ๆ ข้าราชการรุ่นใหม่ ๒ วันที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงมีการเข้าค่ายพักแรมด้วย  ฟังดูแล้วเข้าท่าไม่น้อย และในการนี้น้องๆ ในกลุ่มฯยุทธฯ บอกว่า ผู้เขียนต้องเป็นวิทยากรด้วย..

ต่อมาก็เป็นคนหนึ่งที่เข้าร่วมการเตรียมการของการอบรมครั้งนี้ เช่น ประสานวิทยากรจากภายนอก ฯลฯ ได้เห็นรายละเอียดของโครงการ ตารางการอบรม บุคลากรเป้าหมายการอบรม  ก็เห็นว่าในหลาย ๆ ส่วนเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะธงหลักที่อยากได้คือ น้อง ๆ รุ่นใหม่จะได้รับทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน แม้เวลาอบรมระยะสั้นแค่ ๒ วัน แต่ก็คัดเลือกเอาเฉพาะเรื่องที่จำเป็นที่สามารถต่อยอดเรียนรู้ด้วยตนเองได้ต่อเนื่อง  และให้สอดคล้องกับนโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร ที่นำระบบใหม่เพื่อความทันสมัยเข้ามาใช้ในการทำงาน วิธีคิดใหม่ ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่


วันจันทร์ ที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗ วันเริ่มต้นของการอบรมก็มาถึง ทีมงานกลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ นัดหมายกันแต่เช้าตรู่ นำเอกสาร เครื่องมืออุปกรณ์ขึ้นรถตู้รีบเดินทางไปยังสถานที่เป้าหมายอุทยานน้ำตกโยง อำเภอทุ่งสงทันที เวลาเดินทางแบบสบาย ๆ ประมาณ ๑ ชั่วโมง ทีมงานเราถึงที่หมายห้องประชุมของอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง

ถึงอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงอำเภอทุ่งสงแล้ว ช่วยกันขนอุปกรณ์ สัมภาระ
โดย น้องส้ม วัลยา ,น้องตุ๊ดตู่ นวพรล. น้องเอ พขร, น้องนิก ธีรพงศ์,น้องแจว ณัฐวัตร,และน้องเอ็ม นักศึกษาฝึกงานจากราชมงคลไสใหญ่
ห้องประชุมตั้งตระหง่านบนเนินสูง อากาศสบาย ๆ ได้ยินเสียงน้ำไหลจากลำธาร แมกไม้เขียวขจีมองสบายตา 





จัดเตรียมการลงทะเบียน และเตรียมพิธีเปิด เพื่อเข้าสู่บทเรียนกันต่อไป...



เมื่อน้อง ๆ นั่งในห้องประชุมพร้อมเพรียง หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ(นิพนธ์ สุขสะอาด) พูดคุยต้อนรับน้อง ๆ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการอบรม


พิธีกร : พรพฤตยพรรจ์ ศิริโชต (น้องนุ้ย)  เริ่มทำหน้าที่ เชิญท่านเกษตรจังหวัด (สมนึก เหมมณี) 
ประธานพิธีเปิด





ประธานกล่าวเปิดการฝึกอบรมและมอบนโยบายแนวทางการทำงาน
โดยเน้นนโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร ระบบ MRCF 


                     
หลังจากประธานกล่าวเปิดการสัมมนาและมอบนโยบายแล้ว ทีมวิทยากรให้น้อง ๆ  ทดสอบ Pre Test ทุกคนต่างขะมักเขม้นกันเต็มที่
ในห้องอบรมเงียบกริบ  ยิ้มกันบ้างเล็กน้อย จดจ่อกับคำถาม และคำตอบ จนแล้วเสร็จส่งให้ทีมวิทยากร







แล้วก็ลงมาพักทานอาหารว่างด้านล่าง ริมลำธาร  ผ่อนคลาย เตรียมพบวิทยากรเข้าสู่การเรียนรู้..


ชาญวิทย์-นครศรีฯ : บันทึก

<< ย้อนกลับ              อ่านตอน ๒ >>





วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เกษตรช้างกลาง ถ่ายทอดเทคโนโลยี GAP


สำนักงานเกษตรอำเภอช้างกลาง จัดถ่ายทอดเทคโนโลยีและฝึกปฏิบัติ GAP

-


สำนักงานเกษตรอำเภอช้างกลาง ร่วมกับ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๕ จ.สงขลา และ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๘ จ.สุราษฎร์ธานี จัดถ่ายทอดเทคโนโลยีและฝึกปฏิบัติ เรื่องระบบควบคุมภายในสำหรับการรับรอง GAP แบบกลุ่ม กิจกรรมดังกล่าวมีเกษตรกรเข้าร่วม จำนวน ๓๐ คน ดำเนินการ ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลสวนขัน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗








 ภาพ/ข่าว : จันทนา

คลินิคเกษตรเคลื่อนที่ อำเภอท่าศาลา

พิธีเปิดงานโครงการคลินิคเกษตรเคลื่อนที่ อำเภอท่าศาลา 

         นายอภินันท์ ซื่ิอธานุวงศ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นประธานเปิดงาน คลินิคเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร  เนื่่องในวันคล้ายวันประสูติพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ บูรณาการร่วมกับโครงการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้่างรอยยิ้มให้ประชาชน

        โดยมีนายสมนึก เหมมณี เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวรายงานและนำชมกิจกรรมภายในงาน ณ วัดโคกตะเคียน ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 22 พฤษภาคม 2557




































 ณัฐวัตร นวลรอด : ภาพ/ข่าว