วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

การสัมมนาเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัด ตามระบบส่งเสริมการเกษตร ครั้งที่ ๒/๒๕๕๘ วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘

จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดการสัมมนาเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับจังหวัด ตามระบบส่งเสริมการเกษตร ครั้งที่ ๒/๒๕๕๘ วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งใหญ่

กลุ่มอำเภอลุ่มน้ำตาปี อำเภอทุ่งใหญ่ นาบอน ฉวาง พิปูน บางขัน ถ้ำพรรณรา และช้างกลาง

DSC07210 DSC07218
DSC07199 DSC07202
DSC07215 DSC07197
DSC07251 DSC07263
DSC07217 DSC07270
DSC07271 DSC07233
DSC07282 DSC07243

<< ย้อนกลับ

                                                                                                                                                                                                                        ชาญวิทย์ : ภาพ/ข่าว

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

การใช้ราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์

วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด
การใช้ราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์
ใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกเก่า)ในอัตราส่วน1:4:100โดยน้ำหนักโดย
- เติมรำข้าวเล็กน้อยลงไปในถุงเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด คลุกเคล้าและบีบให้เชื้อที่เกาะเป็นก้อนแตกออก ต่อจากนั้นจึงเทเชื้อที่คลุกรำข้าวแล้วผสมกับรำข้าวที่เหลือให้ครบตามจำนวน แล้วคลุกให้เข้ากันอีกครั้ง
- นำหัวเชื้อสดที่ผสมกับรำข้าว(อัตราส่วน 1:4โดยน้ำหนัก) ผสมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก100กิโลกรัม คลุกเคล้าจนเข้ากันอย่างทั่วถึง อาจพรมน้ำพอชื้นเพื่อลดการฟุ้งกระจาย
เมื่อได้ส่วนผสมของเชื้อสดกับปุ๋ยอินทรีย์แล้วสามารถนำไปใช้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
การผสมกับวัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้าในกระบะเพาะเมล็ดหรือถุงเพาะชำ
ใส่ส่วนผสมของเชื้อสด ผสมดินปลูกอัตรา 1:4 โดยปริมาตร(20%)นำดินปลูกที่ผสมด้วยส่วนผสมของเชื้อสดแล้วใส่กระบะเพาะเมล็ด ถุง หรือกระถางปลูก
การใส่หลุมปลูกพืช
- ใช้ส่วนผสมของเชื้อสด อัตรา 10-20กรัม(1-2ช้อนแกง) ต่อหลุม โรยในหลุมก่อนการหยอดเมล็ดพืช
- ใช้ส่วนผสมของเชื้อสดอัตรา10-20กรัมคลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูกพืช ถ้าหลุมใหญ่อาจใช้50-100กรัม/หลุม
การใช้เชื้อหว่านในแปลงปลูก
หว่านส่วนผสมเชื้อสดลงบนแปลงปลูกก่อนการปลูกพืช ด้วยอัตรา 50-100กรัมต่อตารางเมตร หว่านส่วนผสมเชื้อสดลงบนแปลงปลูก ขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโต และกำลังมีโรคระบาด ด้วยอัตรา 50-100ต่อตารางเมตร
การใช้เชื้อหว่านใต้ทรงพุ่มหรือโรยโคนต้นพืช
หว่านส่วนผสมเชื้อสดทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มจนถึงรอบชายพุ่มอัตรา50-100กรัมต่อตารางเมตร หรือโรยส่วนผสมเชื้อสด บริเวณโคนต้นพืชกรณีที่เกิดโรคโคนเน่า ด้วยอัตรา10-20กรัมต่อต้น
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดคลุกเมล็ดพืช
ใส่เชื้อสดลงในถุงพลาสติกที่จะใช้คลุกเมล็ดอัตรา 10 กรัม (1ช้อนแกง) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี บีบเชื้อสดให้แตกตัวเทเมล็ด 1 กิโลกรัมลงในถุงแล้วเขย่าให้เชื้อสดคลุกเคล้าจนติดผิวเมล็ด นำเมล็ดออกผึ่งลมให้แห้งหรือใช้ปลูกได้ทันที
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับน้ำ
ในกรณีที่ไม่สะดวกในการจัดหาปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และรำข้าวหรือกรณีที่ต้องการใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาลงดินโดยไม่ประสงค์จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์และรำข้าวลงไปในดินด้วย เนื่องจากไม่อยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ สามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่เตรียมไว้ผสมกับน้ำ ในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ 250 กรัม(เชื้อสด 1 ถุง)ต่อน้ำ 50ลิตรใช้น้ำเชื้อที่เตรียมได้ฉีดพ่นลงดินด้วยอัตรา 10-20 ลิตรต่อ100 ตารางเมตรสำหรับขั้นตอนการใช้เชื้อสดผสมน้ำมีดังนี้
นำเชื้อสดมา 1 ถุง(250กรัม) เติมน้ำลงไปในถุง 300มิลลิลิตร(ซีซี)หรือพอท่วมตัวเชื้อแล้วขยำเนื้อข้าวให้แตกออกจนได้น้ำเชื้อสีเขียวเข้ม
กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ ล้างกากที่เหลือบนกระชอนด้วยน้ำอีกจำนวนหนึ่งจนเชื้อหลุดจากเมล็ดข้าวหมด เติมน้ำให้ครบ 50 ลิตร ก่อนนำไปใช้
1. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในกระบะเพาะกล้า กระถาง หรือถุงปลูกพืช
1.1 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนกระบะเพาะหลังจาดหยอดเมล็ดแล้วหรือในระหว่างที่ต้นกล้ากำลังเจริญเติบโตโดยฉีดให้ดินเปียกฉุ่ม
1.2 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในถุงหรือกระถางปลูกพืช ตั้งแต่เริ่มปลูกหรือในระหว่างที่พืชกำลังเจริญเติบโตโดยฉีดให้ดินเปียกชุ่ม
2. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในหลุมปลูกพืช
2.1 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในหลุมปลูกพืชหลังจากเพาะเมล็ดแล้ว โดยฉีดพ่นให้ดินเปียกชื้น
2.2 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงในหลุมปลูกพืชหลังย้ายพืชลงปลูกแล้ว โดยฉีดให้ดินเปียกชื้น
3. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงปลูกพืช
3.1 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงพืชหลังจากหว่านเมล็ด และคลุมแปลงด้วยฟางแล้วในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร และให้น้ำแก่พืชทันที
3.2 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลงปลูก อัตรา 10-20 ลิตร/100ตารางเมตร ก่อนคลุมแปลงด้วยพลาสติกดำ
3.3 กรณีที่พืชกำลังเจริญเติบโตอยู่ให้ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนแปลง ในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
4. การฉีดพ่นน้ำเชื้อสดโคนต้นพืชและใต้ทรงพุ่ม
4.1 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงตรงโคนต้นพืช และบนดินบริเวณรอบโคนต้นพืช โดยให้ผิวดินเปียกชื้น
4.2 ฉีดพ่นน้ำเชื้อสดลงบนดิน ใต้บริเวณใต้ทรงพุ่มและขอบชายพุ่ม ให้ดินพอเปียกชื้น
คำเตือน : – ควรฉีดพ่นในเวลาแดดอ่อน หรือเวลาเย็นกรณีที่บริเวณที่ฉีดพ่นไม่มีร่มเงาจากพืชเลย
- ถ้าดินบริเวณที่จะฉีดพ่นเชื้อแห้งมาก ควรให้น้ำพอให้ดินมีความชื้นเสียก่อน หรือให้น้ำทันทีหลังฉีดพ่น เพื่อให้น้ำพอเชื้อซึมลงดิน
ไม้ผล
ทุเรียน ส้ม มะนาว ฝรั่ง มะละกอ ฯลฯ
โรคพืช/เชื้อ/สาเหตุ
โรครากเน่าและโคนเน่า – เชื้อราไฟทอฟธอรา พิเทียม ฟิวซาเรียม
อัตราและวิธีการใช้
รองก้นหลุมก่อนปลูก 50-100 กรัม/หลุม
หว่านลงดินใต้ทรงพุ่ม 50-100 กรัม/ตารางเมตร
ฉีดพ่นลงดิน 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
พืชผักต่างๆ
มะเขือ เทศ พริก โหระพา กะเพรา หน่อไม้ฝรั่ง ขึ้นฉ่าย ตระกูลกะหล่ำ หอมใหญ่ ผักชีฝรั่ง ตระกูลถั่ว ตระกูลแตง กระชาย กระเจี๊ยบเขียว ขิง เผือก ฯลฯ
โรคพืช/เชื้อ/สาเหตุ
โรคเน่าระดับดิน
โรคกล้าเน่ายุบ
โรครากเน่า โรคลำต้นเน่า
โรครากและโคนเน่า
โรคเหี่ยว
เชื้อราพิเทียม สเคลอโรเทียม ไรซอคโทเนีย ฟิวซาเรียม
อัตราและวิธีการใช้
ผสมดินโดยใส่ส่วนผสมของเชื้อสด : ดินปลูก อัตรา 1:4 โดยปริมาตร (20%) เพาะกล้า/เมล็ด
คลุกเมล็ดขนาดเล็กใช้เชื้อสด 1 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กก.
คลุกเมล็ดขนาดใหญ่ใช้เชื้อ 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กก.
หว่านในแปลงปลูก 50-100 กรัม/ตารางเมตร
รองก้นหลุมและใส่โคนต้นเป็นโรค 10-20 กรัม/หลุม
ฉีดพ่นหลุมปลูกและโคนต้น20-50 ซีซี/หลุม
ฉีดพ่นกระบะเพาะกล้าและแปลงปลูกพืช 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
ไม้ดอกไม้ประดับ
ดาวเรือง มะลิ เยอบีร่า ชบา เบญจมาศ ตระกูลฟิโลเดนดรอน ตระกูลขิง ซ่อนกลิ่น กล็อกซีเนีย กล้วยไม้
โรคพืช/เชื้อ/สาเหตุ
โรคเหี่ยว โรคกล้าเน่ายุบ
โรคเน่าดำ
เชื้อราฟิวซาเรียม ไฟทอฟธอรา พิเทียม สเคลอโรเทียม ไรซอคโทเนีย
อัตราและวิธีการใช้
ผสมดินโดยใส่ส่วนผสมของเชื้อสด : ดินปลูกอัตรา 1:4 โดยปริมาตร (20%) เพาะกล้า/เมล็ด
หว่านในแปลงเพาะกล้า 50-100 กรัม/ตารางเมตร
โรยในกระถาง ถุงเพาะ 10-20 กรัม/กระถาง/ถุง
รองก้นหลุมก่อนปลูก 10-20 กรัม/หลุม
ฉีดพ่นในกระบะเพาะ แปลงเพาะกล้า แปลงปลูก 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
ฉีดพ่นในกระถาง ถุงเพาะกล้า ก่อนย้ายกล้าปลูก 20-50 ซีซี/กระถาง/ถุง/หลุม
พืชไร่
ข้าวบาร์เลย์ ทานตะวัน ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ฯลฯ
โรคพืช/เชื้อ/สาเหตุ
โรคกล้าเน่ายุบ โรคโคนเน่า – เชื้อราสเคลอโรเทียม สเคลอโรเทียม พิเทียม ไรซอคโทเนีย
อัตราและวิธีการใช้
คลุกเมล็ดก่อนปลูกเมล็ดขนาดเล็ก 1 ช้อนแกง/ เมล็ด 1 กก.
คลุกเมล็ดก่อนปลูกเมล็ดขนาดใหญ่ 1-2 ช้อนแกง/เมล็ด 1 กก.
การนำเชื้อราไตรโคเดอร์มาสดไปใช้ประโยชน์
สำหรับใช้แช่เมล็ดพันธุ์ใช้ได้กับเมล็ดพันธุ์พืชทุกชนิด เช่น มะเขือเทศ พริก เป็นต้น
ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสด ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำครึ่งแก้ว จะได้นำเชื้อราไตรโคเดอร์มาสดสีเขียว
ใช้ผ้าห่อเมล็ดพันธุ์ไว้แล้วแช่ลงในแก้วน้ำเชื้อราไตรโคเดอร์มานานประมาณ 5-10 นาที ก่อนนำเมล็ดพันธุ์ไปเพาะปลูกตามปกติ
สำหรับการละลายน้ำแล้วรดพืชผักโดยเฉพาะให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดในอัตรา เชื้อฯสด 1 ถุง+น้ำ 50 ลิตร แล้วฉีดพ่นตามปกติ ถ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องฉีดพ่นในช่วงเย็น ที่แดดร่มแล้ว
ประโยชน์  เชื้อราไตรโคเดอร์มา คือ ป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า ในพืชผักทุกชนิด อันมีสาเหตุมาจากเชื้อราที่อยู่ในดิน
ข้อแนะนำหากใช้รดต้นพืชร่วมกับปุ๋ยเคมี ต้องใช้ฉีดพ่นเชื้อฯหลังจากฉีดสารเคมีแล้วประมาณ 15-20 นาที เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วิธีการนำไปใช้
ใช้คลุกเคล้าเมล็ดพันธุ์  ใช้ป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ด โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดผงแห้งหรือเชื้อสด(ไม่ผสมส่วนผสมใดๆ)  10-20 กรัม  ต่อเมล็ดพืช 1 กิโลกรัม อาจเติมน้ำสะอาดหรือสารจับติด(Sticker) ลงไปเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ผงเชื้อจับติดเมล็ดได้ดีขึ้น
การใส่ลงในดินโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่คลุกเคล้ากับส่วนผสมตามอัตราส่วนและหมักเรียบร้อยแล้วใส่ลงดินโดยตรงเพื่อให้เจริญและแพร่พันธุ์ เพิ่มปริมาณ เพื่อควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่อยู่ในดิน ทำได้หลายวิธี ดังนี้
การใช้ในแปลงเพาะกล้า
-หว่านส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์มาบนแปลงเพาะกล้าในอัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากับดินลึก 5-10 เซนติเมตรก่อนเพาะกล้าหรือหว่านเมล็ด แล้วใช้เศษซากพืชหรือฟางคลุมบางๆเพื่อรักษาความชื้นแล้วจึงรดน้ำ
การใช้กับพืชปลูกใหม่หรือใช้รองก้นหลุม
-ใช้ส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์มาอัตรา 50-100 กรัมต่อหลุมหรือต่อต้น
-กรณีเป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น ใช้ส่วนผสม 3-5 กิโลกรัม / หลุม คลุกเคล้ากับดินก้นหลุม แล้วจึงนำพืชลงปลูก ใช้เศษพืชหรือฟางข้าวคลุมบางๆแล้วรดน้ำ เพื่อรักษาความชื้น
การใช้ในการผสมดินปลูก
-ใช้ส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์มา คลุกเคล้ากับดินผสมพร้อมปลูกในอัตรา 15 กิโลกรัมต่อดินผสม 1.0-1.5  ลูกบาศก์เมตร  คลุกเคล้าให้เข้ากัน ดินที่ผสมแล้วควรใช้ให้หมดในคราวเดียว
การใช้กับพืชที่ปลูกแล้ว
-ในกรณีไม้ผล ไม้ยืนต้น เพื่อให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสัมผัสดินทั่วถึง ควรทำความสะอาดบริเวณโคนต้นหรือใต้ทรงพุ่มก่อนหว่านส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในอัตรา 50-100 กรัม/ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยเศษพืชหรือฟางข้าวบางๆจึงรดน้ำให้ชุ่ม
-ถ้าเป็นพืชผักหรือไม้ดอกไม้ประดับหรือพืชผักที่มีลำต้นขนาดเล็ก ให้หว่านส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์มารอบโคนต้น ในอัตรา 10-15 กรัม/ต้น  หรือหว่านให้ทั่วแปลงอัตรา 50-100 กรัม/ตารางเมตร แล้วพรวนดินรดน้ำให้ชุ่ม
การฉีดพ่นหรือราดลงดิน
-ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่อยู่ในรูปผงหรือเกล็ดผสมน้ำอัตรา 50-100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
-กรณีเป็นเชื้อสดที่ผลิตรจากข้าว ให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 1 กิโลกรัม หรือ 4 ถุง + น้ำ 200 ลิตร แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำไปฉีดพ่นหรือราดดิน เหมาะกับแปลงเพาะกล้า
ข้อแนะนำและการปฏิบัติ
ในพืชผักหรือพืชอายุสั้น ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาทุกครั้งที่ปลูก สำหรับพืชผักที่ให้ผล เช่น พริก มะเขือ พืชตระกูลแตงต่างๆควรใส่อีกครั้งในระยะเริ่มติดผล
พื้นที่ปลูกพืชเป็นประจำหรือพืชยืนต้น  ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา  ปีละ  2  ครั้ง  หรือทุกๆ 6 เดือน เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาในดินให้มีอยู่ตลอดไป
ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราในพื้นที่ที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในกรณีที่มีความจำเป็น ควรเว้นระยะเวลาการใช้ห่างกันอย่างน้อย 7-10 วัน
ส่วนผสมของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ผสมพร้อมใช้แล้ว ควรใช้ให้หมดในคราวเดียว
เพื่อให้การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ควรปรับระดับความเป็นกรดด่างของดินให้อยู่ระหว่าง 5.5-6.5
ควรใช้เชื่อราไตรโคเดอร์มา ในช่วงเวลาที่มีแดดอ่อนในตอนเย็น เพื่อลดการถูกแสงแดดเผาทำลายเชื้อในตอนกลางวัน
ควรใช้เชื้อราไตรโคเดร์มาเพื่อการป้องกันการเกิดโรค จะเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง และดีที่สุด
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดควบคุมโรคพืชต่างๆ
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดคลุกเมล็ด อัตรา 1-2 ช้องแกง/เมล็ด 1 กิโลกรัม  » คลุกเมล็ด
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา เชื้อสด รำละเอียด ปุ๋ยคอก (1:4:100)
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมน้ำฉีดพ่น อัตรา เชื้อสด 500 กรัม/น้ำ 100 ลิตร  »  ฉีดพ่นการเก็บรักษาเชื้อราไตรโคเดอร์มาสด
ในการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด  หลังจากใส่เชื้อลงถุงก้อนเชื้อ จะใช้เวลา 7-10 วัน เชื้อจึงเจริญจนเต็มถุง มีสีเขียวสดพร้อมที่จะนำไปใช้ในการควบคุมโรคพืชได้
แต่ถ้ายังไม่ได้นำไปใช้ควรเก็บในที่ร่ม อุณหภูมิห้องปกติ จะเก็บไว้ได้นาน 15-20 วัน หลังจากนี้เชื้อจะเริ่มแก่มีสีขาวฟู เสื่อมคุณภาพ
ถ้าเก็บรักษาในที่เย็นหรือตู้เย็น อุณหภูมิ 7-10 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นานถึง 1-3 เดือน

 

ที่มา : http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=91848.0

<< BACK

ไตรโคเดอร์มา : เชื้อรามหัศจรรย์สำหรับใช้ควบคุมโรคพืช TRICHODERMA : A miracle biocontrol agent for plant disease control

เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์” จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิตปฏิชีวนสาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วยละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อราไตรโคเดอร์มาคือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรค

จากผลการดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ พ.ศ.2528 ถึงปัจจุบัน สามารถคัดเลือกเชื้อราไตรโคเดอร์มาจากดินในธรรมชาติได้หลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ CB-Pin-01 มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคของพืชเศรษฐกิจต่างๆทั้งพืชไร่ ไม้ผล พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดได้ในสภาพแปลงเกษตรกร ทั้งโรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น โรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน (โรคกล้ายุบ) รากเน่า หัวหรือแง่งเน่า และโคนเน่า เป็นต้น โรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่เหนือดินไม่ว่าจะเป็นส่วนของ กิ่ง ผล ใบ หรือดอก เช่น โรคลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่ง โรคแคงเกอร์ของมะนาว โรคราดำของมะเขือเทศ โรคใบปื้นเหลืองและโรคดอกสนิมของกล้วยไม้ โรคแอนแทรคโนสของมะม่วงและพริกทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากนี้ยังสามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่าของพืชผักสลัดและผักกินใบต่างๆที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร (ระบบไฮโดรโพนิกส์) และจากผลการวิจัยล่าสุดพบว่าการแช่เมล็ดข้าวเปลือกก่อนใช้หว่านลงในนาข้าว ช่วยลดการเกิดโรคเมล็ดด่าง เมล็ดลีบ ของข้าวที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราหลายชนิด ตลอดจนช่วยเพิ่มความสมบูรณ์และน้ำหนักเมล็ด และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ด้วย

ผู้วิจัยได้พัฒนาชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาให้อยู่ในรูปผงหัวเชื้อบริสุทธิ์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดไว้ใช้ได้เองตามต้องการ ด้วยการหุงปลายข้าวให้สุกในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า อัตราปลายข้าว 3 ส่วน น้ำ 2 ส่วน ตักใส่ถุงพลาสติกแล้วใส่ผงหัวเชื้อลงไปเล็กน้อย บ่มไว้ 5-7 วัน ก็สามารถนำเชื้อสดไปใช้ได้ ขณะนี้ได้พัฒนาเชื้อสดดังกล่าวให้เป็นชีวภัณฑ์ในรูปน้ำและรูปผงแห้งผสมน้ำเพื่อใช้พ่นส่วนต่างๆของพืชและพ่นลงดินได้ ผงหัวเชื้อบริสุทธิ์นี้มีสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในปริมาณไม่น้อยกว่า 100 ล้านหน่วยชีวิต (สปอร์) ต่อผงเชื้อ 1 กรัม สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลานานไม่น้อยกว่า 1 ปีถ้าเก็บไว้ในตู้เย็น (ประมาณ 8-10 องศาเซลเซียส) แต่ถ้าเก็บที่อุณหภูมิในห้องปกติ (25-30 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน

 

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด สามารถใช้ได้หลายวิธีตามโอกาสและความสะดวกของเกษตรกร เช่น ใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์ในสัดส่วน 1:4:100 โดยน้ำหนักสำหรับใส่หลุมปลูก อัตรา 10-20 กรัม (1-2 ช้อนแกง) คลุกเคล้ากับดินในหลุมปลูกพืช ก่อนการหยอดเมล็ดพืช หรือหว่านลงแปลงปลูก ด้วยอัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร หรือใช้ผสมรวมกับวัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้าโดย ใส่ส่วนผสมของเชื้อสด+ปุ๋ยอินทรีย์ ผสมร่วมกับดินหรือวัสดุปลูกอัตรา 1: 4 โดยปริมาตร (20%) นำดินหรือวัสดุปลูกที่ผสมด้วยส่วนผสมของเชื้อสดแล้วใส่กระบะเพาะเมล็ด ถุงหรือกระถางปลูกพืช กรณีของการคลุกเมล็ดพืชก่อนปลูก สามารถใช้เชื้อสดล้วนๆ อัตรา 10 กรัม (1 ช้อนแกง) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี และถ้าต้องการเชื้อสดในรูปน้ำสามารถใช้เชื้อสดผสมน้ำในอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ จะได้เชื้อชนิดน้ำสำหรับใช้พ่น ราด รดลงดิน หรือพ่นส่วนบนของต้นพืช หรือใช้ปล่อยไปพร้อมระบบการให้น้ำใต้ทรงพุ่มของพืช และใช้แช่ส่วนขยายพันธุ์พืช เช่นเมล็ด หัว เหง้า แง่ง ท่อนพันธุ์ ก็ได้ สำหรับเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดผงแห้งได้ทำสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการประยุกต์ใช้กับบริษัทยูนิซีดส์ จำกัด ไปแล้ว

               ผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาและวิธีการใช้ โปรดติดต่อไปยังห้องปฏิบัติการ ควบคุมโรคพืชโดยชีวภาพ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม 73140 โทรศัพท์ 034-281047 หรือ 02-9428200-45 ต่อ 3413, 3406 หรือ 3405

 

ที่มา : http://www.rdi.ku.ac.th/kufair50/plant/68_plant/68_plant.html

 

<< BACK

ปลูก “พืชใช้น้ำน้อย” หลังฤดูทำนา ลดความเสี่ยง เสริมรายได้

 

“ในช่วงหน้าแล้งพืชที่ปลูกหลังการทำนาควรเป็นพืชที่มีอายุสั้นมาก ๆ และใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วเขียว เป็นพืชที่มีศักยภาพ อายุการเก็บเกี่ยวครั้งแรก 65-75 วัน โดยหลังเกี่ยวข้าวเสร็จเกษตรกรสามารถหว่านเมล็ดถั่วเขียว ขณะที่ผืนดินยังมีความชื้นอยู่ได้

จากปัญหาความแห้งแล้งของอากาศอันเกิดจากการที่มีฝนน้อยกว่าปกติ หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นระยะเวลานานกว่าปกติครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ภัยแล้ง ภัยดังกล่าวหลายพื้นที่ขณะนี้กำลังเผชิญ!!

น้ำ ปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกจากใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคแล้วยังใช้ในการเกษตรกรรมด้วย ยิ่งภาวะภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นส่งผลถึงเกษตรกรที่กำลังเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ในช่วงฤดูแล้งจึงเป็นอีกทางเลือกช่วยให้เกษตรกรปลูกพืชผลการเกษตรต่อไปได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่

พืชที่ใช้น้ำน้อย ปลูกหลังฤดูทำนามีหลายชนิดที่มีศักยภาพ ทั้งในด้านการตลาด บางชนิดช่วยปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ก่อนถึงการปลูกข้าวในฤดูที่จะมาถึง อาจารย์ปาริชาติ พรมโชติ ภาควิชาพืชไร่

นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้ว่า การทำนาของเกษตรกรมีทั้งการทำนาปีและนาปรัง นาปี คือนาที่ทำในช่วงฤดูฝนซึ่งช่วงเวลาทำนาในแต่ละภูมิภาคจะไม่ต่างกันมากขึ้นอยู่กับว่า จะเลือกทำนาลักษณะใด นาปักดำ นาหว่านเมล็ด หรือหว่านต้นกล้า ถ้าทำนาดำจะมีเวลาเตรียมกล้าก่อน เช่น ทางภาคเหนือ อีสานบางพื้นที่ซึ่งยังคงทำนาดำอยู่ ก็จะเริ่มเตรียมกล้านับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน จะเริ่มปักดำในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม สิงหาคม สิ้นสุดก็ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคมขึ้นอยู่กับการปลูกช้าหรือปลูกเร็วของเกษตรกร ซึ่งแต่ละที่ฝนจะมาไม่พร้อมกัน

แต่โดยส่วนใหญ่ช่วงเวลาของการทำนาอยู่ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม มิถุนายนกระทั่งถึงพฤศจิกายน ซึ่งบางท้องที่อาจเก็บเกี่ยวช้าออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว สภาพอากาศฝนมาช้าหรือเร็วเช่นกัน

“ภาคเหนือ ภาคอีสานการทำนาจะเป็นในช่วงเวลาที่กล่าวมา ปลูกข้าวไวแสง ซึ่งต้องการช่วงแสงกระตุ้นให้มีการออกดอก ข้าวส่วนใหญ่จะออกดอกช่วงเดือนตุลาคม ส่วนทางภาคกลางช่วงเวลาการปลูกก็แล้วแต่พื้นที่ ถ้าพื้นที่ไหนไม่มีน้ำชลประทานการปลูกข้าวนาปีจะคล้ายกับทางภาคเหนือ อีสานเป็นช่วงฤดูฝน แต่ข้าวที่ปลูกในภาคกลางส่วนใหญ่จะไม่ใช่ข้าวไวแสง อย่างไรก็ตามการทำนาของเกษตรกรโดยหลักจะเริ่มช่วงพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน”

ส่วนช่วงแล้งมีทั้งหลังจากทำนาปีและก่อนที่ทำนาปี ในช่วงแล้งแรกหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จกลางพฤศจิกายน ธันวาคมไปจนถึงมกราคม กุมภาพันธ์ ส่วนแล้งที่สองช่วงกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคมก่อนจะเข้าสู่ฤดูฝน โดยพืชที่สามารถปลูกได้ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน เริ่มทำนาปีพบว่ามีหลายชนิดที่มีศักยภาพซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่เป็นที่สูง ที่ลุ่ม หรือที่ดอน

ถ้าเป็นที่ลุ่มพื้นที่ภาคกลางหลังจากทำนาปีเสร็จ บางพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มมีน้ำหลากอยู่เกษตรกรอาจไม่สามารถปลูกพืชหลังนาได้ทันที ต้องชะลอการปลูกออกไป ส่วนพื้นที่ที่ไม่มีน้ำขังหลังเกี่ยวข้าวเสร็จอาจมีพืชหลายชนิดให้เลือกก็ขึ้นอยู่กับสภาพอุณหภูมิและพื้นที่

’การเลือกปลูกพืชนอกจากพิจารณาภูมิประเทศแล้วยังต้องดูเรื่องน้ำ บางพื้นที่มีน้ำชลประทานก็ไม่น่าเป็นห่วงเท่ากับที่ที่ไม่มีน้ำชลประทาน น้ำใต้ดิน น้ำที่มาจากบ่อหรือคลองธรรมชาติ ฯลฯ ซึ่งช่วงหน้าแล้งพืชที่ปลูกหลังการทำนาควรเป็นพืชที่มีอายุสั้นมาก ๆ และใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วเขียว เป็นพืชที่มีศักยภาพ อายุการเก็บเกี่ยวครั้งแรก 65-75 วัน โดยหลังเกี่ยวข้าวเสร็จเกษตรกรสามารถหว่านเมล็ดถั่วเขียว ขณะที่ผืนดินยังมีความชื้นอยู่ได้ ซึ่งก็พอที่ทำให้ถั่วเขียวเติบโตโดยที่ไม่ต้องมีน้ำชลประทานหรือแหล่งน้ำอื่น

พืชตระกูลถั่วในขณะนี้เริ่มหายไปจากระบบ ในการปลูกถั่วเขียวมองว่ามีช่องทางการตลาดที่ดี ด้วยยังเป็นที่ต้องการ อีกทั้งสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายไม่ว่าจะนำมาเพาะถั่วงอก อีกทั้งเป็นพืชที่ช่วยบำรุงดินเพิ่มไนโตรเจนในดิน“

งา พืชอีกชนิดที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น แต่งาต้องการน้ำมากกว่าถั่วเขียวในช่วงระยะแรก งาเป็นพืชอีกชนิดที่พบปลูกน้อย แต่งายังคงเป็นที่ต้องการของตลาด มีความโดดเด่นทนแล้งและอายุสั้น กรณีที่พื้นที่นั้นพอมีแหล่งน้ำ มีน้ำใต้ดินอยู่บ้างก็สามารถเลือกนำมาปลูกงาได้ โดยแนะนำให้ปลูกเป็นแถวเป็นร่องไม่หว่านไปทั่วแปลง  

แต่หากมีน้ำชลประทานสามารถเลือกปลูกพืชได้หลากหลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพืชผักที่ทานเป็นประจำ เช่น พริก มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว ฯลฯ ซึ่งก็มีข้อโดดเด่นหลายข้อทั้งอายุไม่ยาวมาก ใช้พื้นที่ไม่มาก อีกทั้งพืชผักเหล่านี้การเก็บผลผลิตเก็บได้หลายครั้งซึ่งก็ช่วยให้มีรายได้หมุนเวียนในหน้าแล้ง

ถั่วเหลืองฝักสด บางพันธุ์เป็นพืชอายุสั้นเช่นกัน โดยมากคุ้นเคยกันในชื่อถั่วแระ ถั่วชนิดนี้มีข้อดีคือ ช่วยบำรุงดิน การดูแลก็ไม่ยุ่งยาก โดยถ้ามีความชื้นในดินบ้างก็สามารถเจริญเติบโตได้ถึงช่วงการเก็บเกี่ยว แต่ผลผลิตอาจไม่เหมือนกับการได้รับน้ำอย่างเต็มที่ ส่วนพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์อาจต้องการน้ำมากขึ้น โดยถ้าเกษตรกรพอมีน้ำชลประทานก็สามารถเลือกปลูกพันธุ์ที่ส่งเสริมเป็นทางเลือกได้ แต่ถ้าไม่มีน้ำชล ประทานสามารถเลือกพันธุ์ที่ดูแลง่ายนำมาปลูก โดยข้อเด่นสามารถตัดขายในชุมชนท้องถิ่นได้ เป็นต้น

ข้าวโพดไร่ เป็นอีกชนิดที่เป็นทางเลือกสามารถทนแล้ง แต่ต้องไม่ใช่พันธุ์ลูกผสม แต่การจะปลูกพืชชนิดใดดังที่กล่าวมาก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ในการปลูกพืชหลังฤดูทำนาซึ่งหมายถึงหลังเก็บเกี่ยวนาปี พื้นที่ที่พอมีน้ำอยู่บ้างอย่างภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานช่วงหลังนาเกษตรกรยังนิยม ปลูกใบยาสูบและพืชผักอีกหลายชนิด นอกจากนี้การปลูก ถั่วลิสง พบว่ามีแนวโน้มที่ดีเช่นกัน และเดิมทีปลูกกันในภาคเหนือและภาคอีสาน แต่ขณะนี้พื้นที่ปลูกถั่วหายไปมาก แต่อย่างไรแล้วความต้องการในตลาดยังคงมีอยู่สูง

“ถั่วลิสงที่ปลูกมีทั้งฝักสดและฝักแห้งปลูกได้ทั้งสองรูปแบบ ถ้าปลูกในฤดูแล้งเหมาะกับการปลูกถั่วลิสงฝักแห้ง แต่ถ้าเป็นฤดูฝนเหมาะกับการปลูกถั่วลิสงฝักสด ส่วนทางภาคอีสานปลูกฝักแห้งและการปลูกถั่วสลับแปลงนาพบว่าทำให้แปลงนาอุดมสมบูรณ์ ข้าวงามขึ้นและไม่ว่าจะเป็นการปลูกถั่วหรืองา เกษตรกรยังสามารถเก็บเมล็ดไว้สำหรับปลูกต่อได้ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิต ประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ได้ แต่ทั้งนี้เมล็ดพันธุ์เบื้องต้นจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ดี”

พืชใช้น้ำน้อยที่กล่าวมาส่วนหนึ่งนี้นอกจากจะเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรได้เลือกปลูกช่วงแล้ง มีรายได้หมุนเวียนต่อจากการทำนาแล้ว ยังช่วยให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่าโดยเฉพาะช่วงเวลานี้ที่หลายพื้นที่กำลังประสบภัยแล้ง.

...............................................................................

คุณลักษณะเด่นพืชทนแล้ง

ถั่วเขียว  พืชตระกูลถั่วเปลือกสีเขียว เนื้อเมล็ดสีเหลือง ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีอายุสั้นจึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นหลายชนิด และงอกได้เร็วสามารถใช้ในระบบปลูกพืชทดแทน เช่น ข้าวนาปรัง โดยปลูกในพื้นที่ประสบภัยแล้งใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่  โดยจะช่วยบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง  ถั่วเขียวมีสองชนิด ได้แก่ ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ

ถั่วลิสง จัดอยู่ในกลุ่มพืชที่ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ เพราะถั่วลิงเป็นพืชอาหารที่บริโภคง่าย เป็นส่วนประกอบอาหารหวานคาวต่าง ๆ และเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ฯลฯ ปลูกได้ 3 ช่วง คือ ต้นฤดูฝน กลางฤดูฝน และปลายฤดูฝน รวมทั้งปลูกในฤดูแล้งในนาโดยอาศัยน้ำชลประทาน และปลูกหลังนาโดยอาศัยความชื้นในดิน  

งา พืชไร่น้ำมันที่เสริมรายได้ให้เกษตรกรได้ เนื่องจากลงทุนต่ำ ใช้เวลาปลูกสั้น และทนแล้งได้ดี เกษตรกรนิยมปลูกงาก่อนหรือหลังพืชหลัก งาจึงเป็นพืชที่นิยมในระบบการปลูกพืช อีกทั้งยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เมล็ดงามีคุณค่าทางโภชนาการ

ถั่วเหลืองฝักสด สามารถบริโภคเป็นอาหารว่าง ประกอบอาหารได้หลายชนิด และเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนในเกณฑ์ดี สามารถปลูกได้ตลอดปี เป็นพืชทางเลือกใหม่เสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรในระยะสั้น   

พริก ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงตั้งแต่ 45-100 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับชนิดของพริกด้วยมีหลายชนิด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกดอกตรงกันข้ามลักษณะใบจะกลมรีตรงปลายใบจะแหลม ดอกจะออกตรงง่ามใบ ผลสุกจะเป็นสีแดง ปนน้ำตาลหรือเหลืองส้มแล้วแต่พันธุ์.

ทีมวาไรตี้

ที่มา : เดลินิวส์ >> http://www.dailynews.co.th/Content/Article/218323

 

<< BACK

กินไข่..แค่ไหน? ถึงดีพอ

กินไข่..แค่ไหน? ถึงดีพอ

ไข่มีโปรตีนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่จะกินไข่ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน ถึงจะดีพอ และไม่ส่งผลร้ายต่อร่างกายของเราไปติดตามกันค่ะ...
บริโภคไข่น้อยกว่า 3 ฟองต่อสัปดาห์
กินไข่น้อยกว่า 3 ฟองใน 1 สัปดาห์ถือว่าไม่เพียงพอ เพราะการกินไข่ในปริมาณที่น้อยเกินไป หรือไม่กินไข่เลย อาจส่งผลเสีย ต่อเส้นประสาทสมองได้ โดยในไข่ 1 ฟอง จะมีปริมาณวิตามินบี 12 ซึ่งดีต่อร่างกาย ซึ่งวิตามินบี 12 จำเป็นต่อการสร้างเยื่อหุ้ม ป้องกันเส้นใย และถ้าขาดวิตามิน เส้นใยประสาทอาจถูกทำลายจนฟื้นฟูกลับคืนมาไม่ได้ อีกทั้งไข่ยังดีต่อสายตาอีกด้วย การทานไข่อย่างน้อย 3 ฟองต่อสัปดาห์จะช่วยป้องกันภาวะสูญเสียสายตาที่มักเกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากสารลูทีนและ ซีแซนทีน ซึ่งเป็นสารในตระกูลแคโรทีนอยด์ ในไข่แดงจะช่วยบำรุงจอประสาทตานั่นเอง
บริโภคไข่ 6 ฟอง ต่อสัปดาห์
       ใน 1 สัปดาห์ หากสามารถกินไข่ได้ 6 ฟอง ถือว่าพอดี เพราะไข่จะช่วยให้ร่างกายคุณดูดซึมแคลเซียมได้ดี และยังช่วยลด ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน แถมปริมาณสารซีลีเนียมและวิตามินอี ในไข่ยังช่วยป้องกันโรคหัวใจอีกทั้งยังช่วยให้มีรูปร่างดี ป้องกันไม่ให้หุ่นกลมเหมือนไข่อีกด้วย
       โปรตีนในไข่จะทำให้รู้สึกอิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ และยังทำให้ลดปริมาณมื้อเที่ยงที่ทานโดยเฉลี่ยได้อีก 164 แคลอรี และ การทานไข่วันละ 3 ฟอง เป็นเวลา 2 วัน ต่อสัปดาห์ จะช่วยหนุ่มนักเล่นเวททั้งหลายสร้างกล้ามเนื้อที่ปราศจากไขมันได้เป็น 2 เท่า ในช่วงเวลา 12 สัปดาห์
       ไข่ถือว่ามีผลน้อยมากต่อการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เมื่อเทียบกับปริมาณไขมันอิ่มตัว อีกทั้งมีการวิจัยพบว่าการทานไข่่ช่วยลดคอเลสเตอรอล LDL(ไม่ดี)เพิ่มคอเลสเตอรอล HDL(ดี)และลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้
       อย่างไรก็ตาม ไข่ที่ให้ผลดีต่อร่างกาย อาจส่งผลร้ายได้เหมือนกัน หากทานมากกว่า 1 ฟอง ต่อวันติดกันทุกวัน ในขณะที่ การทานไข่สูงสุด 6 ฟองต่อสัปดาห์ไม่ได้ทำให้มีอันตรายถึงชีวิต แต่หากทานไข่ 7 ฟองหรือมากกว่านั้นภายใน 1 สัปดาห์ จะไปเพิ่ม ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ 23 เปอร์เซ็นต์ และที่สำคัญคือสำหรับหนุ่มที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว ไข่อาจเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเสียชีวิตได้ เพื่อสุขภาพที่ดีและแข็งแรง ควรเลือกทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ และต้องทานในปริมาณที่เหมาะสมด้วยนะคะ แล้วก็อย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไปพร้อม ๆ กันด้วย จะได้แข็งแรงห่างไกลโรคภัยค่ะ

 

ที่มา : โรงพยาบาลพิษุเวช  >> http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000037543

 << Back

แพทย์แนะกินไข่ทุกวันไม่อันตรายอย่างที่คิด แถมเป็นมิตรกับสุขภาพทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

แพทย์แนะกินไข่ทุกวันไม่อันตรายอย่างที่คิด แถมเป็นมิตรกับสุขภาพทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี และลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือดได้พร้อมกัน ที่สำคัญช่วยเสริมโปรตีนให้เด็กขาดสารอาหารได้เป็นอย่างดี
"เขาห้ามกินไข่เกินอาทิตย์ละ 3 ฟองนะ กินมากเดี๋ยวคอเลสเตอรอลในเลือดก็สูงหรอก" เสียงเจื้อยแจ้วของสาวนางหนึ่งที่เอ่ยเตือนด้วยความเป็นห่วงสุขภาพของเพื่อนสาวอีกคนหนึ่งที่กำลังจะกินไข่ไก่ฟองที่ 4 ในรอบสัปดาห์ แต่จากผลการวิจัยล่าสุดของ นพ.กรภัทร มยุระสาคร ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลสมุทรสาคร ชี้ว่าการบริโภคไข่ไก่ทุกวัน วันละ 1-2 ฟอง ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูงจริง แต่เป็นคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีต่อร่างกาย และดีต่อสุขภาพทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
       นพ.กรภัทรเผยว่า คนทั่วไปมักเข้าใจกันว่าการกินไข่มากหรือกินไข่ทุกวันจะทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคอเลสเตอรอลมี 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-cholesterol) และ คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-cholesterol) และจากการศึกษาพบว่าการกินไข่นั้นช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีได้

       นักวิจัยเผยถึงผลของการบริโภคไข่ไก่ในอาสาสมัครที่มีอายุระหว่าง 20-60 ปี ประกอบด้วย อาสาสมัครชายจำนวน 56 คน บริโภคไข่ทุกวัน วันละ 1 ฟอง ติดต่อกันนาน 3 เดือน โดยประกอบด้วย ไข่ต้ม, ไข่ดาวน้ำ, ไข่ดาวธรรมดา, ไข่พะโล้, ไข่ลูกเขย และไข่หวาน อีกกลุ่มหนึ่งเป็นอาสาสมัครหญิง จำนวน 117 คน บริโภคไข่ต้มทุกวัน วันละ 2 ฟอง ติดต่อกันนาน 2 เดือนครึ่ง
จากนั้นตรวจวัดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดพบว่า ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีเพิ่มขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม ในทางกลับกันระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีก็ลดลงทั้ง 2 กลุ่มเช่นเดียวกัน

       นอกจากนี้ นักวิจัยยังศึกษาการเสริมไข่ในมื้ออาหารให้กับเด็กชนบทที่ร่างกายขาดโปรตีน โดยทดลองในเด็กชั้น ป.4 - ป.6 จำนวน 273 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้กินไข่ 3 ฟองต่อสัปดาห์ อีกกลุ่มหนึ่งให้กินไข่ 10 ฟองต่อสัปดาห์ นานติดต่อกัน 3 เดือน จากนั้นตรวจวัดปริมาณโปรตีนอัลบูลมินในเลือด พบว่าเด็กทุกคนมีระดับโปรตีนอัลบูลมินในเลือดเพิ่มขึ้นเป็น 100% ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีก็เพิ่มขึ้น ส่วนระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างกันทั้งกลุ่มที่กินไข่ 3 ฟอง และ 10 ฟองต่อสัปดาห์
       ดังนั้นการให้เด็กที่ขาดโปรตีนกินไข่เพียง 3 ฟองต่อสัปดาห์สามารถช่วยทดแทนโปรตีนในเด็กที่ขาดโปรตีน ซึ่งในชนบทประเทศไทยมีเด็กที่ขาดโปรตีนมากถึง 29% ซึ่งการขาดโปรตีนนั้นอาจบอกไม่ได้ด้วยน้ำหนักตัว แต่ต้องตรวจสอบระดับโปรตีนอัลบูลมินในเลือด หากต่ำกว่า 3.3 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าร่างกายขาดโปรตีน
       อย่างไรก็ดี นพ.กรภัทร ชี้ว่าแม้การทดลองจะแสดงผลว่าการบริโภคไข่ไก่ทุกวันจะไม่มีผลเสียต่อร่างกาย แต่ก็ควรยึดหลักความพอดี อาหารทุกชนิดควรบริโภคอย่างเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป.

 

ที่มา : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000037543

 

<< ย้อนกลับ

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

การช่วยเหลือพี่น้องชาวสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช

วันนี้ ( ๙ มีนาคม ๒๕๕๘) นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
เป็นประธานในการประชุมคณะเจ้าหน้าที่ศูนย์บริหารการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจร
เพื่อสรุปข้อมูลปริมาณยางคงเหลือทั้งหมดของ สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชนที่ผลิตยางแผ่นรมควัน
ให้องค์การสวนยาง และพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบการขยายยาง ของกลุ่มสถาบันเกษตรกร
และเกษตรกรทั่วไปตามโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง
โดยมี นายเสรีย์ แป้นคง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการชดเชยรายได้
แก่เกษตรกรชาวสวนยาง และความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยาง
ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

para1 para2
para3 para4
para6 para5
para7 para8
   
 

อนุวัตร จำปาทอง : ภาพข่าว
ชาญวิทย์ สมศักดิ์ : เผยแพร่

<< ย้อนกลับ  

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘

นายราชิต สุดพุ่ม ปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการ
ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัด ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรายงาน
ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน และผลการให้การส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน และเครือข่าย
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. ๒๕๔๘

             โดยมี นายเสรีย์ แป้นคง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะเลขานุการฯ พร้อมกับคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัด
เข้าประชุมโดยพร้อมเพรียง

vis1 vis2
vis3 vis4
vis6 vis7
vis8 vis9
   
 

  อนุวัตร จำปาทอง : ภาพ/ข่าว

<< ย้อนกลับหน้าหลัก

ชาญวิทย์ สมศักดิ์ : เผยแพร่

พิธีเปิดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๘ นายพินิจ บุญเลิศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธีเปิดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร   โดยมี นายเสรี แป้นคง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวรายงาน
ซึ่งโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เป็นรูปแบบของการถ่ายทอดความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในพื้นที่
ให้ได้รับบริการแบบครบวงจร ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง พัฒนาที่ดิน สหกรณ์ บัญชีครัวเรือน ชลประทาน และปฏิรูปที่ดิน เป็นการนำบุคลากร อุปกรณ์ และองค์ความรู้

ด้านการเกษตรมาสู่พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ เป็นการสร้างแรงจูงใจแก่เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย กระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว และยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ
นอกจากนี้ยังได้บูรณาการกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาร่วมให้บริการประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำความอยู่ดีมีสุขมาสู่พี่น้องเกษตรกรโดยทั่วกัน
ณ บริเวณหอประชุมอำเภอช้างกลาง ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

10270561_982504515102878_2683219903818476230_n 10940420_982504541769542_9184547985482395624_n
นายพินิจ บุญเลิศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธีเปิด นายเสรี แป้นคง เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวรายงาน
10353023_982504468436216_349032621482617912_n (1) 10425127_982504728436190_6034893262371312057_n
10172868_982504818436181_6542099559951630682_n 10410618_982504821769514_5444909190390130443_n
10940420_982504718436191_2116985763450617092_n 10999499_982504808436182_6548881104373746081_n
11017117_982504505102879_2167745156530811486_n 11018823_982504771769519_3730944123078145899_n
11024195_982504478436215_674227941695283178_n 11026332_982504501769546_8297842273156713597_n
11035586_982504568436206_2439698416459868299_n 11043247_982504565102873_4712568647356470261_n
11046183_982504755102854_6285854153613473260_n 11046943_982504781769518_5620601823107179304_n
11054361_982504528436210_8291419128565863662_n 10270669_982504538436209_5633366407905011490_n





<< ย้อนกลับ

อนุวัตร จำปาทอง : ภาพ/ข่าว
ชาญวิทย์ สมศักดิ์ : เผยแพร่